ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กชพรรณ ลัภโนปกรณ์
  • ประสพชัย พสุนนท์

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านการทำงาน, ปัจจัยด้านองค์การ, ความเครียด,

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเครียดของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงานและปัจจัยด้านองค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่เลือกมาโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 217 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS for windows)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.39) จากพิสัยคะแนน 1 – 5 ขณะที่ความแตกต่างของเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน หน่วยงานที่สังกัดและปัจจัยด้านองค์การ พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยด้านการทำงานมีผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นอันดับแรก คือ ด้านลักษณะการทำงาน รองลงมา คือ ด้านสัมพันธภาพกับบุคลอื่นในการปฏิบัติงาน และด้านที่ส่งผลต่อความเครียดน้อยที่สุดคือ ด้านบทบาทหน้าที่ในการทำงาน ตามลำดับ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) วิธีการเลือกแบบเดินหน้า (forward Selection) พบว่าปัจจัยด้านการทำงาน ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R Square) เท่ากับร้อยละ 80.1 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ปรับแล้ว (Adjusted R Square) เท่ากับร้อยละ 79.9

Downloads