การนำนโยบายการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาไปปฏิบัติในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา, การนำนโยบายไปปฏิบัติ,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุและความจำเป็นในการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาในประเทศไทย 2) ศึกษาแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาในประเทศไทย 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามนโยบายการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาในประเทศไทย และ 4) ศึกษาประสิทธิผลในการเข้าถึงยาของประชาชนตามนโยบายการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลในการกำหนดนโยบาย คือ คณะกรรมการต่างๆ ในระดับกระทรวงสาธารณสุข และผู้ให้ข้อมูลในการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ ผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ ทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 45 โรงพยาบาล ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและสนับสนุนด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาเป็นแนวทางที่จำเป็นและเหมาะสมที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางอื่นในการกำหนดเป็นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงยาของประชาชนไทย ซึ่งสามารถเห็นได้จากการวัดประสิทธิผลในการเข้าถึงยา พบว่าปริมาณการใช้ยา เพิ่มขึ้น และมูลค่าการใช้จ่ายยาลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการประกาศใช้นโยบายนี้ สำหรับแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์หลักในการปฏิบัติไว้ แต่แนวทางการนำไปปฏิบัติของแต่ละโรงพยาบาลนั้นแตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้ บทบาทอำนาจของผู้อำนวยการ บทบาทของแพทย์ และคุณลักษณะของโรงพยาบาล นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ความชัดเจนของนโยบายความสอดคล้องของนโยบายต่อสถานการณ์ของปัญหา งบประมาณ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ การสื่อสารของนโยบายคุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว