การศึกษารูปแบบคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ กรณีศึกษา บริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด
คำสำคัญ:
คลังสินค้า, รูปแบบคลังสินค้า, เฟอร์นิเจอร์,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการดำเนินงานคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด 2)ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายคลังสินค้า จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและสภาพการดำเนินงานโดยรวมของคลังสินค้า ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบคลังสินค้าและประสิทธิภาพคลังสินค้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบ ค่าไคสแควร์ (Chi - square test) โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญของการทดสอบที่ .05
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด ในปัจจุบันควรจะปรับปรุงการดำเนินงานคลังสินค้าให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยระบุสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของรูปแบบคลังสินค้นค้า ประกอบด้วย 4 กิจกรรม 1.1 กิจกรรมการรับสินค้า 1.2 กิจกรรมการจัดเก็บสินค้า 1.3 กิจกรรมการจัดเตรียมสินค้าและ 1.4 กิจกรรมการจ่ายสินค้า สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกัน คือ 1.4.1 มีพื้นที่ในการรับสินค้าไม่เพียงพอ 1.4.2 มีอุปกรณ์/เครื่องจักรไม่เพียงพอ และ 1.4.3 มีพนักงานไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รูปแบบที่เหมาะสมของคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด 2) การเปรียบเทียบความสัมพันธ์รูปแบบคลังสินค้ากับประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค พบว่า กิจกรรมการรับสินค้าและกิจกรรมการจ่ายสินค้าไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด (P<.05) ในส่วนกิจกรรมการจัดเก็บสินค้าและกิจกรรมการจัดเตรียมสินค้า มีความสัมพันธ์กับรูปแบบคลังสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทค จำกัด (P<.05)
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว