แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร
คำสำคัญ:
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, การปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร, สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ใน การปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ระดับรายได้ต่อเดือน และชั้นยศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร จำนวน 236 นาย ที่ได้มาจากวิธีการเลือกแบบบังเอิญ (accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีจำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ ANOVA และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และ 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของข้าราชการทหาร สังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหาร ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการทหารที่มีอายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อเดือน และชั้นยศ ต่างกัน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการทหารที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมแตกต่างกัน (P < .05)
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว