ปัญหาของผู้ใช้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการปรับปรุง ระบบงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คำสำคัญ:
ปัญหาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, แนวทางการปรับปรุง,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ใช้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการปรับปรุงของระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทำคู่มือแนวทางการปรับปรุงระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมประจำปี 2554 สังกัดคณะ/ศูนย์/สำนักต่างๆ จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งสร้างขึ้นจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ T-test, F-test ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยสถิติ LSD (Least Significant Difference) และ หาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสายสนับสนุน มีปัญหาในด้านข้อมูลของระบบมีความทันสมัย รองลงมาคือด้านการจัดทำรายงานทะเบียน รับ-ส่ง ได้ง่าย ด้านความง่ายต่อการใช้ระบบ ด้านความรู้ในการเข้าสู่ระบบ ด้านความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ด้านวิธีค้นหาข้อมูล อย่างถูกต้อง ด้านระบบ e-doc มีเนื้อหาในการค้นหาอย่างครบถ้วน ด้านการแนบไฟล์ได้ ทุกประเภท ด้านมีจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพียงพอและด้านการส่งข้อมูลมีการสูญหายตามลำดับ และระดับแนวทางการปรับปรุงการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่ามีระดับแนวทางการปรับปรุงในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนการใช้งาน รองลงมาคือด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และการบริการและด้านเนื้อหา ในการสืบค้นและมีระดับแนวทางการปรับปรุงระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัยและความทันสมัย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษาสูงสุดและสังกัดหน่วยงานแตกต่างกันมีระดับแนวทางในการปรับปรุงการใช้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัญหาการใช้งานในด้านการส่งข้อมูลมีการสูญหายและ ด้านความรู้ในการเข้าสู่ระบบมีความสัมพันธ์กับแนวทางการปรับปรุงระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว