แนวทางการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คำสำคัญ:
แนวทาง, รูปแบบการพัฒนา, ศักยภาพนักวิจัย,บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้การทำวิจัย ความรู้การทำวิจัย ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งกำหนดรูปแบบในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสู่ความเป็นสากลของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนโดยได้ทำการสุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและนำไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากร จำนวน 20 ตัวอย่าง แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพโดยได้หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา = 0.97 ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน 237 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม R เพื่อคำนวณค่าสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคว์สแคว Test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ งานวิจัยทุกเรื่องต้องมีการอภิปรายผล รองลงมาขนาดตัวอย่างขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ส่วนมีความรู้ผิด ได้แก่ การให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย รองลงมา คือ IOC บุคลากรที่ทำวิจัยประสบกับปัญหา อุปสรรค คือ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อของบประมาณ รองลงมา การพัฒนาโจทย์วิจัย สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในภาพรวมและทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก คือ พัฒนาด้านการฝึกอบรมการวิจัย สร้างแรงจูงใจและเผยแพร่ผลงานวิจัยตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ ระดับการศึกษาและสถานภาพมีความสัมพันธ์กับแนวทางการพัฒนานักวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ ส่วนปัจจัยที่เหลือไม่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้บุคลากรมีข้อเสนอแนะให้สถาบันวิจัยและพัฒนาจัดอบรมการวิจัยให้มากขึ้นและพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพ ส่วนรูปแบบในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยนั้นควรกำหนดเป็นโครงสร้างในการบริหารจัดการสถาบันวิจัยและพัฒนา ให้ทันสมัยเป็นแบบบูรณาการ มีปฏิทินการอบรมการวิจัยตลอดทั้งปีในทุกระดับ มีการสร้างแรงจูงใจที่หลากหลาย ซึ่งผลงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้นำไปสู่ภาคปฏิบัติแล้ว เช่น การอบรมการเขียนบทความวิจัย การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ มาประเมินข้อเสนอการวิจัยเพื่อของบประมาณประจำปี 2556 และเปิด Research Clinic สัปดาห์ละ 1-2 วัน เป็นต้น
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว