ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านสำหรับบุคคลวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ที่มีผลต่อความยับยั้งชั่งใจที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์
คำสำคัญ:
เพศศึกษารอบด้าน, ความยับยั้งชั่งใจ, พฤติกรรมทางเพศ, เพศสัมพันธ์ก่อนสมรส, การจัดกระบวนการเรียนรู้,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกอบรมตามแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้าน ที่มีผลต่อความยับยั้งชั่งใจที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มในบุคคล 3 วัยคือ วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย ตามลำดับ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือชุดฝึกอบรมเพศศึกษารอบด้าน 8 หน่วยใช้เวลา30 ชั่วโมง แบบวัดความยับยั้งชั่งใจจำนวน 25 ข้อ และแบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจจากการเข้าร่วมฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และ dependent t-test แบบ Pretest-Posttest one group quasi-experiment ในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ช่วงระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม 2550-10 มีนาคม 2553 ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง 1.1) ความยับยั้งชั่งใจ ด้านพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มผู้ใหญ่ 1. 2) ด้านเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในกลุ่มเด็กและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ 1.3) ด้านความคาดหวังที่จะไม่มีการเกิดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในกลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่น และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มผู้ใหญ่ 2. ในกลุ่มเด็กมีระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมตามแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมากเท่าๆ กัน และความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมด้านเพศศึกษารอบด้านในกลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก 3. ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่มีระดับความคิดเห็นและ ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว