ศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • อรุณวดี ล้อมรื่น

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, บัญชีครัวเรือน, เกษตรกร, เศรษฐกิจพอเพียง,

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2) เปรียบเทียบผลการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่มีต่อศักยภาพและการบริหารการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยกลุ่มเกษตรกรประเภททำสวนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ และได้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด One way ANOVA  (F – test) และ (t-test) 

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.08 ปีจบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 7,685.71 บาท และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนเลย 2) เกษตรกรที่เคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่แตกต่างกันจะมีการบริหารจัดการในครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน จากผลการวิจัย ังนี้งไม่มีผลต่อห์ารศึกษาวิจัยในครั้งนี้  คือ  แบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์พบว่า การเปรียบเทียบการบริหารจัดการในครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามการเคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร พบว่า ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่แตกต่างกัน โดยใช้ F–test เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนแตกต่างกัน มีการบริหารจัดการในครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 3) เกษตรกรที่เคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่แตกต่างกันจะมีศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน         จากผลการวิจัย พบว่า การเปรียบเทียบศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามการเคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร พบว่า ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่แตกต่างกัน โดยใช้ F–test เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนแตกต่างกัน มีศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานที่ 2

Downloads