การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และบุคลากรเจเนอเรชั่นวาย: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • ฉัฐจุฑา นกจันทร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงาน, เจเนอเรชั่น,

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน จำแนกตามเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและประสบการณ์ในการทำงาน 4) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นวาย จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ จำนวน 350 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของ LSD โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวายมีแรงจูงใจในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานที่มีเจเนอเรชั่นต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานไม่แตกต่างกัน 3) พนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) พนักงานเจเนอเรชั่นวายที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานไม่แตกต่างกัน 

Downloads