การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย
คำสำคัญ:
คู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย 2) ศึกษาคุณภาพของคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย 3) สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ผู้จัดการหรือผู้ช่วยผู้จัดการ จำนวน 10 คน และพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผ้าไหมไทย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ และแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย โดยมีสมมติฐานว่าคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย มีคุณภาพดีขึ้นไปโดยมีระดับค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากขึ้นไป โดยมีระดับค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย ในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.52 และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.60 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.60
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว