ฤทธิ์ต้านการอักเสบและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ ของสารสกัดจากใบหนาด
คำสำคัญ:
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ, ใบหนาด,บทคัดย่อ
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบของ สารสกัดจากใบหนาด (Blumea balsamifera (L.) DC.) ซึ่งสกัดสารจากใบหนาด 4 ชนิด ซึ่งสกัดได้จากใบหนาดด้วย เฮกเซน และเอทานอล ตามวิธีการหมัก (maceration) และ Soxhlet พบว่าสารสกัดจากใบหนาดทั้ง 4 ชนิด ไม่แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ ส่วนฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบพบว่าสารสกัดจากใบหนาดด้วยเอทานอลตามวิธี Soxhlet นั้นมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ดีที่สุด และรองลงมาก็คือ สารสกัดจากใบหนาดด้วยเอทานอลตามวิธีการหมัก และสารสกัดจากใบหนาดด้วยเฮกเซนตามวิธี Soxhlet โดยมีค่า MIC เท่ากับ 0.56 mg/ml 1.67 mg/ml และ 5.00 mg/ml ตามลำดับ ส่วนสารสกัดจากใบหนาดด้วยเฮกเซนตามวิธีการหมักนั้น ไม่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และพบว่าสารสกัดจากใบหนาดทั้ง 4 ชนิดไม่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย P. aeruginosa ส่วนการวิเคราะห์พฤกษเคมีของ สารสกัดด้วยเอทานอลตามวิธี Soxhlet ซึ่งแสดงฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ดีที่สุด ด้วย GC-MS พบว่ามีองค์ประกอบของสารจำนวน 49 ชนิดและส่วนใหญ่คือ camphor (42.20%),L-(-)borneol (20.96%), trans-caryophyllene (17.49%), 13,14,15,16,17-pentanorlabda-7, 9(11)diene (6.35%), 8-hydroxy-13,14,15,16,17-pentanorlabda-7,9(11)diene (2.82%), neoalloocimene (2.40%) และ 4,7,10-cycloundecatriene (1.21%)
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว