การประมาณค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์คาโนนิคอลด้วยเทคนิคการคำนวณต่างกัน

ผู้แต่ง

  • แวววรี ลีฬหวนิช
  • บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์
  • สุวพร เซ็มเฮง
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง

คำสำคัญ:

สหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์คาโนนิคอล, เทคนิคการคำนวณ, บูตสแทรป, ลักษณะการแจกแจงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล,

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการประมาณค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์ คาโนนิคอลด้วยเทคนิคการคำนวณต่างกันคือ SUMCOR SSQCOR MAXVAR MINVAR และ GENVAR ภายใต้เงื่อนไขขนาดกลุ่มตัวอย่างและลักษณะการแจกแจงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอลเดียวกันและต่างกัน ซึ่งขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ 100 200 300 400 500 600 และ 700 คนได้มาโดยการสุ่มซ้ำแบบใส่คืน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบูตสแทรป จำนวน 50 ครั้ง    จากกลุ่มประชากรเทียม 1,058 คน และการแจกแจงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล แบ่งเป็น แบบเบ้ซ้าย เบ้ขวา โค้งปกติ โค้งโด่ง และแบนราบ ตัวแปรที่นำมาศึกษา คือ ตัวแปร  การอบรมเลี้ยงดู ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียน และตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์คาโนนิคอลด้วยเทคนิคการคำนวณต่างกัน จากการใช้คำสั่งภาษาฟอร์แทรน 77 ผลการศึกษาพบว่า เทคนิคการคำนวณ MAXVAR ให้ค่าความลำเอียงและค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรแต่ละคู่มีค่าใกล้ศูนย์มากกว่าเทคนิคการคำนวณอื่น และภายใต้เงื่อนไขขนาดกลุ่มตัวอย่างและลักษณะการแจกแจงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลเดียวกันและต่างกัน เมื่อเทคนิคการคำนวณต่างกัน ให้ผลการประมาณค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์   คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรทุกคู่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยเทคนิค MAXVAR มีค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์คาโนนิคอล ระหว่างชุดตัวแปรทุกคู่สูงกว่าเทคนิคการคำนวณอื่น และมีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นในการประมาณค่าสหสัมพันธ์เจนเนอร์รัลไรซ์คาโนนิคอล ได้ดีกว่าเทคนิคการคำนวณอื่น

Downloads