การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย
คำสำคัญ:
ความสามารถในการแข่งขัน, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย, ระบบการผลิตแบบลีน,บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการเพิ่มความสามารถในกาแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย 9 ประเทศ ร่วมกับการศึกษาหลักการจัดการการผลิตแบบลีนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 120 บริษัทซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและประมวลผลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การถดถอยเชิงซ้อน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ได้แก่ ผลิตภาพคุณภาพ การลดต้นทุนการผลิต โลจิสติกส์ นวัตกรรมและการจัดทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ การใช้ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing System) โดยนำเทคนิคไคเซ็น การผลิตแบบทันเวลาพอดี กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และการซ่อมบำรุงแบบทวีผล มาใช้กำจัดความสูญเปล่าปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงความรวดเร็วและถูกต้องของระบบโลจิสติกส์ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นแนวทางที่ใช้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยได้
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว