การวิจัยและพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรม พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
คู่มือการจัดกิจกรรม, การคิดวิเคราะห์, กิจกรรมคิดวิเคราะห์, ครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น,บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์จากเอกสารและจากครูผู้มีประสบการณ์ 2) พัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์และครูผู้ใช้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการวิจัยโดยการสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ระบุสิ่งที่จะวิเคราะห์ และกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ 2) ศึกษาข้อมูลและกำหนดองค์ความรู้ในสิ่งที่ทำการวิเคราะห์ 3) สรุปและนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และ 4) ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากผลการวิเคราะห์และพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ผู้วิจัยพัฒนาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ 1) ส่วนนำ 2) ส่วนเนื้อหา และ 3) ส่วนท้าย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและภาษาอังกฤษ โรงเรียนเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 5 คน และนักเรียนโรงเรียนเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 13 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและภาษาต่างประเทศ มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และครูผู้ใช้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความพึงพอใจมากที่สุด
2.2 ครูผู้ใช้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว