เส้นทางท่องเที่ยวสถานธรรมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • สถาพร ถาวรอธิวาสน์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, สถานธรรม,

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมการปฏิบัติธรรมของสถานธรรมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 3) ศักยภาพและความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 4) เส้นทางการท่องเที่ยวสถานธรรมร่วมกับวิสาหกิจชุมชน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเจาะจงเลือกกลุ่มตัวอย่าง 35 วัด จากวัด 50 วัด และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 16 กลุ่มจาก 30 กลุ่ม โดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม สังเกต วิเคราะห์เอกสารและประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ

         กิจกรรมการปฏิบัติธรรมของสถานธรรมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า กิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมทำบุญวัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2) กิจกรรมถือศีลอุโบสถ 3) อบรมเยาวชน 4) กิจกรรมบวชชีพราหมณ์

         ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (สถานธรรม) ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า ศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว ที่อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีทั้งหมด 3 วัด คือ วัดธรรมามูล            (หลวงพ่อธรรมจักร) วัดใหญ่ (มีพระพุทธไสยาสน์) และวัดปากคลองมะขามเฒ่า (หลวงปู่ศุข)  สำหรับวัดที่มีศักยภาพการองรับนักท่องเที่ยวในระดับดีมากมีทั้งหมด 3 วัด คือ วัดบรมธาตุ(เจดีย์สมัยอู่ทอง) วัดสรรพยา (พระพุทธชินราชจำลอง) และวัดอินทราราม (พระพุทธรูป 58 องค์ในวิหารหลังยาว) โดยมีสิ่งดึงดูดใจของวัด คือ พระพุทธรูปเกจิอาจารย์ สภาพแวดล้อมและวัตถุโบราณ  

         ศักยภาพและความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า  กลุ่มที่มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว คือ กลุ่มแม่บ้านสรรพยาบาติก เสื่อกกท่าฉนวน  กระเป๋าผักตบชวาบ้านอ้อย น้ำพริกบ้านท่าไม้และน้ำพริกคงคาราม

         เส้นทางการท่องเที่ยวสถานธรรมร่วมกับวิสาหกิจชุมชน 4 เส้นทาง คือ 1) จาก            โพนางดำออกถึงเขื่อนเจ้าพระยา 2) จากสะพานสรรพยาถึง วัดท่าชัย 3) จากสวนนกถึงเขื่อนผ่านวัดโคกขามถึงวัดธรรมามูล 4) จากแยกน้ำสาครวัดใหญ่ถึงปากคลองมะขามเฒ่า 

Downloads