กลยุทธ์การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลสรรพยา จังหวัดชัยนาท
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจข้อมูลและสภาพความเป็นจริงของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลสรรพยา และนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสรรพยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 461 ครัวเรือน ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรเป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรมในชุมชนร้อยละ 33.1 โดยเป็นสมาชิกกลุ่มจักสาน กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง อาชีพหลักคือ การทำนา ในวิถีการผลิตเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเคมี มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป้าหมายในการผลิตของเกษตรกรคือการผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพ เกษตรกรไม่ค่อยมีการเลี้ยงสัตว์ บางส่วนมีบ้าง ที่เลี้ยงไก่ รายได้ของเกษตรกรจะมาจากการทำนา ส่วนเกษตรกรที่เข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกัน คือ การใช้ชีวิตที่อยู่บนความพอดีไม่ฟุ้งเฟ้อ ประหยัด อดออม และการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด โดยไม่ก่อหนี้สิน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้จัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปรับปรุงการบริหารจัดการผลผลิตและการจำหน่ายบนพื้นฐานเศรษฐกิจ การสร้างสังคมน่าอยู่บนพื้นฐานภูมิปัญญา และการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศวัฒนธรรม เพื่อนำมาซึ่งรายได้ นอกภาคเกษตรกรรม
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว