ปัญหากระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในวุฒิสภา

ผู้แต่ง

  • ภูมิ มูลศิลป์

บทคัดย่อ

ในระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) นั้น นอกจากประชาชนจะสามารถใช้สิทธิในการเลือกบุคคลเข้าไปเป็นผู้แทนของตนในการออกกฎหมายหรือปกครองบ้านเมือง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อมในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ประชาชนยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องผู้แทนของตนให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยประชาชนสามารถเรียกคืนการใช้อำนาจอธิปไตยของผู้แทนได้ด้วยการถอดถอนผู้แทน (Impeachment) ออกจากตำแหน่งตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดหากผู้แทนเหล่านั้นมิได้กระทำการให้สมกับความเป็นผู้แทนของประชาชน ซึ่งในทรรศนะของ รุสโซ (Jean-Jaegues Rousseau) นั้น ผู้แทนเป็นเพียงกรรมการที่ประชาชนตั้งขึ้นเท่านั้น (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. 2547: 68-69) เมื่อผู้แทนเป็นเพียงกรรมการที่ประชาชนตั้งขึ้น ประชาชนจึงมีอำนาจในการเรียกอำนาจอธิปไตยของตนคืนได้

สำหรับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงอย่างชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งในระหว่างที่รัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่ ได้มีความพยายามในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายครั้ง แต่ยังไม่มีกรณีใดเลยที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกยื่นถอดถอนจะถูกถอดถอนได้สำเร็จดังที่จะได้กล่าวต่อไปในบทความนี้ 

Downloads