บทบาทสตรีไทยกับการบริหารภาครัฐในอนาคต

ผู้แต่ง

  • กมลพร กัลยาณมิตร

บทคัดย่อ

ตามข้อมูลใน The Central Intelligence Agency (CIA) ระบุว่าในเดือนกรกฎาคม 2554 หรือ ค.ศ.2011 นี้ ประชากรของโลกจะมีทั้งสิ้นประมาณ 6.92 พันล้านคน มีอัตราส่วนระหว่างชายและหญิงอยู่ที่ 1.01 ในปี 2553 ประเทศไทยมีประชากร 63.87 ล้านคน เป็นชาย 31.45 ล้านคน หญิง 32.42 ล้านคน ผู้มีอายุระหว่าง 15-65 ปี เป็นชาย 22.34 ล้านคน หญิง 23.15 ล้านคน (กรมการปกครอง, 2553) เมื่อพิจารณาอัตราส่วนระหว่างชายและหญิงจะอยู่ที่ 0.96 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนักในภาพรวมของประชากรโลกและของประเทศไทย   

นอกจากนี้ UN Woman (2010) ให้ข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิงจะนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพของประเทศ สอดคล้องกับการศึกษาความเท่าเทียมทางเพศในกลุ่มประเทศต่างๆ ของธนาคารโลก (World Bank) ที่พบว่า ความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้นยังคงมีปรากฏอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ละสังคมวัฒนธรรม ประเทศที่มีช่องว่างความไม่เท่าเทียมทางเพศสูง จะส่งผลเสียต่อความเป็นอยู่ของประชากร ซึ่งไม่ได้กระทบต่อเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อทุกคนในสังคม และยังชี้ให้เห็นอีกว่า การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในด้านการบริหาร ถือเป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจและการกำกับดูแลการดำเนินงานของภาครัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

Downloads