การพัฒนาและส่งเสริมการใช้สารฆ่าแมลงจากธรรมชาติ เพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย
คำสำคัญ:
สารกำจัดศัตรูพืช, สารฆ่าแมลงจากธรรมชาติ,บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาและส่งเสริมการใช้สารฆ่าแมลงจากธรรมชาติเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย ซึ่งศึกษากับกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว โดยทำการทดสอบก่อนและหลังการดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องสารกำจัดศัตรูพืช และการใช้สารฆ่าแมลงจากธรรมชาติมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืช และคะแนนเฉลี่ยของเจตคติต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจากธรรมชาติของเกษตรกร ก่อนและหลังการดำเนินการฝึกอบรม เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงและไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรในอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่ (Paired Sample t-Test)
ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.18 และเพศชาย ร้อยละ 40.82 มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปีมากที่สุด ร้อยละ 34.69 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 51.02 มีประสบการณ์ในการเพาะปลูก 1-10 ปี ร้อยละ 44.40 และเคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืช 5 ครั้ง ในรอบ 1 ปี ร้อยละ 32.65 การศึกษาสถานการณ์การจัดการศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชมากที่สุด ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปีที่ผ่านมาเกษตรกรควบคุมศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมีมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า สารกำจัดศัตรูพืชจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพต่ำการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืช และคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการใช้สารฆ่าแมลงจากธรรมชาติของเกษตรกร ก่อนและหลังได้รับการฝึกอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 โดยหลังได้รับการฝึกอบรม เกษตรกรมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (จาก 13.55 เป็น 18.04) และคะแนนเจตคติต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจากธรรมชาติเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (จาก 25.94 เป็น 28.86) จากผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการฝึกอบรมทำให้เกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ในเรื่องสารกำจัดศัตรูพืชและเจตคติต่อการใช้สารฆ่าแมลงจากธรรมชาติ และนำไปสู่การใช้สาร ฆ่าแมลงจากธรรมชาติเพื่อผลผลิตที่ปลอดภัย
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว