การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะตามความคิดเห็นของบุคลากรในบริบทมหาวิทยาลัยใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะ, ตัวชี้วัดสุขภาวะ, พัฒนาบุคลากร,บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจสุขภาวะของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ทั้ง 6 แห่ง และเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะให้เหมาะสมกับบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ทั้ง 6 แห่ง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะของบุคลากรในบริบทมหาวิทยาลัยใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ทั้ง 6 แห่ง คือ 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 6) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบ่งเป็น 4 ส่วน ซึ่งมีทั้งแบบปลายปิด-ปลายเปิด และแบบ Check List ที่สร้างขึ้นเองโดยคณะผู้วิจัยและตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีระดับความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .922
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ 6 แห่ง ส่วนใหญ่มีสุขภาวะดีทุกด้านอยู่แล้ว จะเห็นได้จากการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากรมีมาก ร้อยละ 56.7 และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา บุคลากรมหาวิทยาลัยประจำปี ร้อยละ 56.5 และบุคลากรมีความสนใจในการออกกำลังกายตอนเย็นสัปดาห์ละ 2 วัน เต้นแอโรบิก โยคะ มากที่สุด ร้อยละ 40.7 บุคลากรมีสุขภาวะจิตที่ดีจะเห็นได้จากมีการเข้าร่วมกิจกรรมปลูกฝังจิตสาธารณะในหลายกิจกรรม มากร้อยละ 88.0 บุคลากรมีสุขภาวะจิต ที่ดีร้อยละ 50.8 ปัญหาสุขภาวะทางสังคมที่ควรป้องกันแก้ไขมากที่สุดคือ ปัญหาเศรษฐกิจ รายรับไม่พอกับรายจ่าย ภาระหนี้สินร้อยละ 49.0 และบุคลากรมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา คือพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน มีมากที่สุด ร้อยละ 74.9 และมีความต้องการการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาที่ดีมากที่สุดคือต้องการอบรมร้อยละ 42.3 ต้องการทุนศึกษาต่อ ปริญญาโท ปริญญาเอก ร้อยละ 26.9 และมีภาวะทางปัญญาที่ดีเพราะมีภาวะทางบวกเกือบทุกข้อตามคำจำกัดความที่ให้ไว้มากที่สุด ร้อยละ 51.9 นอกจากนี้บุคลากรยังให้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะของบุคลากร 1) ด้านการบริหารควรนำไปใช้กับผู้บริหารก่อนและขยายผลไปยังบุคลากรและนักศึกษาด้วย 2) ด้านการนำผลการวิจัยไปปฏิบัติจริง ควรมีการจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทำงาน อบรมคุณธรรมจริยธรรม อบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ 3) ด้านการวิจัย ควรมีการทำวิจัยต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีสุขภาวะที่ดีมีผลการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพ
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว