การสื่อสารเชิงสัญญะของวัดพระศรีรัตนศาสดารามในฐานะทุนทางปัญญา เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การสื่อสารเชิงสัญญะ, วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, การเรียนรู้, วัฒนธรรม,บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเชิงสัญญะของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเพื่อศึกษาการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อวัดพระศรีรัตนศาสดารามในฐานะทุนทางปัญญาเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในกรุงเทพมหานครซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสะดวกจำนวน 500 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน อีกทั้งการวิจัยเอกสาร รวมถึงใช้แบบสอบถามวัดการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8995 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดกลุ่มข้อมูลอย่างเป็นระบบและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารเชิงสัญญะที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนศาสดารามมี 6 ประการ ดังนี้ คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สัญญะแทนพระราชศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่มีต่อพระพุทธศาสนา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรสัญญะแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแทนความเชื่อว่าเป็นแก้วของพระอินทร์ซึ่งเป็นเทพที่ปกป้องรักษาพระพุทธศาสนา ตามชื่อของราชธานีที่ว่า “รัตนโกสินทร์” จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “รามเกียรติ์” สัญญะแทนความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเรื่องธรรมะย่อมชนะอธรรม หอพระมณเฑียรธรรมสัญญะแทนสุทัศนเทพนครที่มีพระอินทร์เป็นเทพเจ้าสำคัญผู้รักษาพระพุทธศาสนา พระอัษฎามหาเจดีย์หรือพระปรางค์แปดองค์ สัญญะแทนพระอริยบุคคล 8 จำพวก และแทนการบูชาทางพระพุทธศาสนา รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ สัญญะแทนสัตว์ป่าหิมพานต์
สำหรับการเรียนรู้วัฒนธรรมของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อวัดพระศรีรัตนศาสดารามในฐานะทุนทางปัญญาเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมพบว่ามีดังนี้ คือ การเรียนรู้วัฒนธรรมชาวพุทธ ได้แก่ 1.การเรียนรู้ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธอยู่ในระดับมาก (= 3.83) 2. การประพฤติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีอยู่ในระดับมาก (= 3.76) 3. การกระทำความดีอยู่ในระดับมาก (= 3.73) ส่วนการเรียนรู้วัฒนธรรมทางสังคม ได้แก่ 1.การแสดงความเคารพอยู่ในระดับมาก (= 3.95) 2. การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 3.91) 3. การรักษามารยาทอยู่ในระดับมาก (= 3.87) ในด้านการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงมรดกของชาติ ได้แก่ 1. การหวงแหนสมบัติของชาติอยู่ในระดับมาก (= 4.18) 2.การเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ให้อยู่คู่ชาติอยู่ในระดับมาก (= 4.17) 3.การเห็นความสำคัญของโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่ในระดับมาก (= 4.08)
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว