การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับรำรำมะนา จังหวัดชัยนาท
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา กระบวนการรำ กระบวนการแสดงและกระบวนการร้อง รำรำมะนาจังหวัดชัยนาท องค์ประกอบการแสดงรำรำมะนาจังหวัดชัยนาท แนวทางการอนุรักษ์การแสดงของจังหวัดชัยนาทให้ดำรงอยู่ตลอดไป มีพื้นที่วิจัยในจังหวัดชัยนาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างแบบสังเกตชนิดมีส่วนร่วม แบบสนทนากลุ่ม จากกลุ่มประชากรคณะแสดงรำรำมะนาคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน วิเคราะห์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางวัฒนธรรมแล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการรำ กระบวนการแสดง และกระบวนการร้องรำรำมะนา จังหวัดชัยนาทสืบทอดมาจากครอบครัวและเครือญาติใช้เวลาไม่น้อยกว่า 80 ปี และสืบทอดอย่างเป็นระบบจากรุ่นสู่รุ่นสามารถบรรจุเป็นหลักสูตรในโรงเรียน ใช้อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้สืบทอด นักเรียนหรือเยาวชนที่มีใจรัก สามารถเรียนการแสดงรำรำมะนาได้ ผู้ถ่ายทอดที่มีความรู้ทาง การแสดงรำรำมะนาถ่ายทอดให้ด้วยความเต็มใจ องค์ประกอบการแสดงรำรำมะนา จังหวัดชัยนาท พบว่า ใช้ผู้แสดงประมาณ 5-10 คู่ เป็นนักเรียนของโรงเรียนต่างๆ ชมรมผู้สูงอายุที่มีใจรักการแสดงรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์การแสดงรำรำมะนา การแต่งกายเหมือนกันมีการนัดหมาย สวยงามเหมาะกับยุคสมัย แสดงได้ทุกโอกาส ดนตรีใช้กลองรำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ เพลงใช้วิธีการจดจำสืบทอดกันมา เพลงในหลักสูตรแกนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีทั้งหมด 8 เพลง โรงเรียนชุมชนวัดมาติการามไปขยายต่อ 12 เพลง ชมรมผู้สูงอายุโพนางดำออก 14 เพลง เลือกใช้ตามความเหมาะสม ขึ้นต้นด้วยเพลงไหว้ครู จบด้วยเพลงลาจาก ท่ารำใช้การรำตีท่าตามเนื้อร้อง ก้าวเท้าตามจังหวะเพลงไปตามวง แสดงกิริยาเกี้ยวพาราสีระหว่างคู่ตามเนื้อร้องแนวทางการอนุรักษ์การแสดง พบว่า ควรจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นบรรจุไว้ในหลักสูตรของสถานศึกษา จัดทำข้อมูลการสืบค้นลงในเว็บไซต์ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และจัดทำเป็นหนังสือ วีดีทัศน์ ซีดี เผยแพร่ให้ผู้สนใจ
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว