การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางสากล
คำสำคัญ:
การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ แนวทางสากลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางสากลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม 2) เปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางสากลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามจำแนกตามเพศและตำแหน่ง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 220 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากร จำนวน 136 คน จากการเปรียบเทียบจากตารางของเคร็จซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t–test) และ One–Way analysis of variance (F–test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสมุทรสงครามทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 3.91) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน เรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำได้ดังนี้ ด้านการศึกษาดูงาน ( = 4.02) ด้านกิจกรรมการพัฒนา ( = 3.93) ด้านการฝึกอบรม ( = 3.90) ด้านการศึกษา ( = 3.81) 2) การเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม สรุปได้ว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาดูงาน และด้านกิจกรรมการพัฒนาDownloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว