ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจำแนกกลุ่มบัณฑิตใหม่ที่ได้งานและยังไม่ได้งาน กรณีศึกษา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำสำคัญ:
การจำแนกกลุ่มบัณฑิตใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิเคราะห์จำแนกประเภทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจำแนกกลุ่มบัณฑิตใหม่ที่ได้งานและยังไม่ได้งาน 2) ศึกษาอำนาจการพยากรณ์ของสมการจำแนก ในการจำแนกการเป็นสมาชิกกลุ่มบัณฑิตใหม่ที่ได้งานและยังไม่ได้งาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บัณฑิตใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปีการศึกษา 2555 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 661 ราย และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple Random Sampling) กำหนดจำนวนตัวอย่างจากสูตร Yamane ได้จำนวนตัวอย่าง 623 ราย และทำการเก็บรวมรวมโดยยื่นแบบสอบถามและรอรับแบบสอบถามกลับในวันที่บัณฑิตมาซ้อมรับพระราชทานปริญญา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า บัณฑิตใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 55.9 ได้งานทำ และ ร้อยละ 44.1 ไม่ได้งานทำ ตัวแปรอิสระที่สามารถจำแนกกลุ่มบัณฑิตใหม่ที่ได้งานและกลุ่มบัณฑิตใหม่ที่ยังไม่ได้งาน ได้แก่ 1) ระยะเวลาที่อบรม/ศึกษาเพิ่มเติม 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) ระยะเวลาในการหางานทำ 4) ความต้องการที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท 5) เกรดเฉลี่ยสะสม และ 6) ภูมิลำเนา ตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวแปรนี้สามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกของทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 88.9 โดยสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกของกลุ่มบัณฑิตใหม่ที่ได้งาน ได้ถูกต้องร้อยละ 85.3 และกลุ่มที่ยังไม่ได้งานได้ถูกต้องร้อยละ 93.5 ตามลำดับDownloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว