กระบวนทัศน์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์
คำสำคัญ:
กระบวนทัศน์ ปฏิฐานนิยม คัดค้านปฏิฐานนิยม ตีความนิยม ทฤษฎีวิพากษ์บทคัดย่อ
การวิจัยทางสังคมศาสตร์นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ใช้กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยมเป็นกระบวนทัศน์หลัก และใช้การวิจัยเชิงปริมาณโดยเฉพาะการสำรวจเป็นวิธีการหลัก ต่อมานักสังคมศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้เสนอแนวคิดที่คัดค้านปฏิฐานนิยม และใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นหลัก บทความนี้ กล่าวถึงกระบวนทัศน์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนทัศน์ คือ 1) ปฏิฐานนิยม 2) ตีความนิม และ 3) ทฤษฎีวิพากษ์ แนวคิดตีความนิยม และแนวคิดทฤษฎีวิพากษ์ เป็นแนวคิดที่คัดค้านปฏิฐานนิยม กระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม เน้นการศึกษาโดยใช้หลักคิดและวิธีเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ กระบวนทัศน์ตีความนิยม เน้นการอธิบายความรู้ความจริงจากการให้ความหมายของผู้กระทำ และแนวคิดทฤษฎีวิพากษ์ เน้นการวิพากษ์การครอบงำของระบบทุนนิยม สนับสนุนการวิจัยที่มีจุดยืนเพื่อต่อต้านระบบทุนนิยมDownloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว