การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรส่วนท้องถิ่นตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน ที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91, .88, .86, .92 และ .90 และแบบสอบถามปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .91, .89, และ .92 และ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 12 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.75, S.D. =0.45) ด้านการพัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน (= 3.80, S.D. =0.55) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (= 3.77, S.D. =0.54) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับระบบการให้สิ่งจูงใจ (= 3.75, S.D. =0.47) ด้านการเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ (= 3.69, S.D. =0.57) 2) ปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการอำนวยการ ด้านการพัฒนาระบบราชการ ด้านการประเมินผลปฏิบัติงานราชการ ด้านการกำหนดนโยบายส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ .960, .357, .352, และ .024 ส่วนการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ส่งผล ค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณเท่ากับ .741 กำลังสองของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .5490 แสดงว่าปัจจัยทั้ง 4 ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนร้อยละ 54.90 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้พัฒนาสมรรถนะรายบุคคลเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดอย่างโปร่งใสDownloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว