หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
การฝึกอบรม เทคนิคการสอน อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความต้องการและปัญหาการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษาทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคนิคการสอน 3) เปรียบเทียบสภาพความต้องการและปัญหาจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 4) ตรวจสอบหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน 8 แห่ง รวม 2,124 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากตารางของเครจีและมอแกนได้ 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคิร์ท (Likert’s scale) มีค่าความสอดคล้อง (IOC=0.88) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพความต้องการและปัญหาการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา ในภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก (=4.19, S.D.= 0.44) โดยมีความต้องการในระดับมากที่สุดด้านเนื้อหา กิจกรรม ส่วนด้านที่มีความต้องการในระดับมาก ได้แก่ ด้านวิทยากร ด้านเทคนิคการฝึกอบรม และด้านรูปแบบการฝึกอบรม 2) ทักษะ ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคนิคการสอน ในภาพรวมมีความจำเป็นอยู่ในระดับมาก (= 4.36, S.D. = .50) ทั้ง 6 ด้าน คือ ทักษะความรู้ด้านการบริหารการสอน ด้านการสอน ด้านการสื่อสาร ด้านการใช้สื่อการสอนด้านวัดผลและประเมินผล และด้านความรู้ 3) การเปรียบเทียบสภาพความต้องการและปัญหาการประชุมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา พบว่า อาจารย์ที่มี เพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีสภาพความต้องการและปัญหาการพัฒนาเทคนิคการสอนในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 4) รูปแบบ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนได้รับการยอมรับจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญในระดับมากที่สุด (= 4.53, S.D. = 0.66)Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว