การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการ จัดทำโครงร่างวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้แต่ง

  • สุมนา โสตถิผลอนันต์

คำสำคัญ:

ความสามารถในการออกแบบการจัดการชั้นเรียน การจัดทำโครงร่างวิจัย ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการออกแบบการจัดการ ชั้นเรียนโดยใช้กระบวนการจัดทำโครงร่างวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการจัดทำโครงร่างวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการจัดการชั้นเรียนของภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 143 คน  สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ใบงานสำหรับฝึกการใช้กระบวนการจัดทำโครงร่างวิจัยเป็นฐาน แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการชั้นเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ เป็นการออกแบบและวางแผนการเรียนการสอน 2) ระยะลงมือจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดทำโครงร่างวิจัย และ 3) ระยะประเมินผล  

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังจากโดยใช้กระบวนการจัดทำโครงร่างวิจัยเป็นฐาน นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 ที่มีความสามารถในการออกแบบการจัดการชั้นเรียนในระดับดี จำนวน 12 กลุ่ม จาก 31 กลุ่ม ร้อยละ 38.71 นักศึกษาที่มีความสามารถในการออกแบบการจัดการชั้นเรียนในระดับน้อย จำนวน 5 กลุ่ม จาก 31 กลุ่ม ร้อยละ 16.13 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมที่ใช้กระบวนการจัดทำโครงร่างวิจัยเป็นฐานในระดับมาก (= 3.78, S.D. =.15)

Downloads