การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียน ที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิง ในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล

Authors

  • เล็กฤทัย ขันทองชัย
  • จรัญ แสนราช

Keywords:

ระบบอีเลิร์นนิง เทคนิคเหมืองข้อมูล กฎความสัมพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิงในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล 2) ค้นหากฎความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบฐานข้อมูลอีเลิร์นนิง โดยใช้อัลกอริธึม Apriori เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรม WEKA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าเรียนระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษาจำนวน 270 คน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีการศึกษา 1/2557 และใช้สถิติเปอร์เซ็นต์ไทล์ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยอัลกอริธึม Apriori เพื่อการหากฏความสัมพันธ์ และหาประสิทธิภาพโดยใช้ค่าสนับสนุน และค่าความเชื่อมั่น 

ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิง วิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีความสนใจใฝ่เรียนรู้สม่ำเสมอในการเข้าเรียนออนไลน์ พฤติกรรมผู้เรียนส่วนใหญ่มี การเตรียมความพร้อมก่อนไปฝึกประสบการณ์ จากข้อมูลการเข้าเรียนเรื่องการเขียนหนังสือราชการ การเขียนจดหมายสมัครงานและประวัติส่วนตัว และเรื่องภาษาอังกฤษเพื่อการสมัครงาน มากที่สุด 2) กฎความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบฐานข้อมูลอีเลิร์นนิง พบว่าเมื่อผู้เรียนเข้าเรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนหนังสือราชการ เป็นลำดับที่ 1 แล้วจะเข้าเรียนเรื่องการเขียนจดหมายสมัครงานและประวัติส่วนตัว เป็นลำดับที่ 2 และเรื่องภาษา อังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน เป็นลำดับที่ 3 เสมอ โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 100เปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่ารูปแบบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิง สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดลำดับหัวข้อเนื้อหาในการเข้าเรียนบทเรียนให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังได้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนด้วยระบบอีเลิร์นนิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

Downloads

How to Cite

ขันทองชัย เ., & แสนราช จ. (2015). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียน ที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิง ในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. Journal of Chandrakasemsarn, 21(41), 87–94. retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/44654