การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัยในจังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • พัชรา พุ่มพชาติ

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ครูปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับครูปฐมวัย 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบหลักสูตร 3) การทดลองใช้ 4) การหาประสิทธิภาพ จำแนกออกเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษานำร่อง และนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเป็นครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนชั้นอนุบาล 1 และ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จังหวัดชัยนาท จำนวน 50 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ระยะเวลาที่นำหลักสูตรไปใช้ 6 สัปดาห์ โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทำการทดสอบก่อนและหลัง ดำเนินการฝึกอบรมด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การเก็บรวบรวมข้อมูลและการสะท้อนผล เครื่องมือประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความสามารถ ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า ครูปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ครูปฐมวัยมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก

Downloads