ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพูดภาษาอังกฤษด้วยการวิเคราะห์ความต้องการทางภาษาเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ (แท็กซี่)
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม “การพูดภาษาอังกฤษด้วยการวิเคราะห์ความต้องการทางภาษาเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ (แท็กซี่)” 2) ศึกษาผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ 3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมฯดำเนินการโดยวิธีวิจัยและพัฒนา มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 2 สร้างหลักสูตรฝึกอบรม และขั้นที่ 3 ทดลองใช้และปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม ประชากรในการเก็บข้อมูลจำนวน 3 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการสหกรณ์แท็กซี่สุวรรณภูมิ ผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะแท็กซี่นิติบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์แท็กซี่สุวรรณภูมิและกลุ่มผู้โดยสารชาวต่างประเทศเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และยุติการสัมภาษณ์เมื่อข้อมูลอิ่มตัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะแท็กซี่นิติบุคคล จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการทางภาษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรการฝึกอบรม และการทดสอบค่าที (t - test)ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) หลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 80.86/82.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 กระบวนการจัดการฝึกอบรมของทุกหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นนำเสนอ (2) ขั้นฝึกหัด และ (3) ขั้นนำไปใช้ 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมพบว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) หลักสูตรฝึกอบรม มีประสิทธิผลในด้านสภาพแวดล้อมด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว