การคุ้มครองแรงงานนักศึกษาที่ทำงานบางช่วงเวลา: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, พัชมณ ใจสอาด

คำสำคัญ:

การคุ้มครองแรงงาน การทำงานบางช่วงเวลา แรงงานนักศึกษาที่ทำงานบางช่วงเวลา

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายคุ้มครองแรงงานของ
ไทยกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ 2) ศึกษากฎหมายคุ้มครองแรงงาน
นักศึกษาที่ทำงานบางช่วงเวลา 3) ศึกษารูปแบบกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองแรงงานที่
ทำงานบางช่วงเวลา การดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและผู้ประกอบการ โดยใช้แบบ
สัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแบบสร้างข้อสรุปจาก
การวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบข้อมูล
     ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบางช่วงเวลา
โดยเฉพาะ แต่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกับแรงงานปกติทั่วไป ซึ่ง
แตกต่างจากกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานบางช่วงเวลา ค.ศ. 1994 และ
กฎหมายของบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี และแคนาดา ที่มีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บางช่วงเวลาขึ้นใช้โดยเฉพาะ ในด้านสภาพและปัญหาของกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย
พบว่า ไม่มีคำนิยามการทำงานบางช่วงเวลา ไม่มีการกำหนดแบบสัญญาจ้าง เกณฑ์การจ่าย
ค่าจ้าง วัน เวลาทำงาน การเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชย จากการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา
กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ทำ งานบางช่วงเวลามี 3 แน วทาง ไ ด้แก่ 1 ) การตราเป็น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานบางช่วงเวลาขึ้นมาโดยเฉพาะ 2) การตราเป็นกฎหมายลำดับรอง
3) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแรงงานที่ใช้อยู่ปัจจุบัน แต่ในความเห็นของคณะผู้วิจัยเห็นว่า
การตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานบางช่วงเวลาเป็นรูปแบบที่เหมาะสม เนื่องจาก
จะสามารถกำหนดรายละเอียดได้ครอบคลุมและเกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง

Downloads