รูปแบบการบริหารจัดการการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน 2) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน แบ่ง 4 ขั้นตอน 1) รวบรวมและศึกษาสภาพการใช้งานและการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของครูอาชีวศึกษา 2) ร่างรูปแบบการบริหารจัดการการพัฒนาครูอาชีวศึกษา 3) ตรวจสอบและประเมิน 4) ร่างเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาชีวศึกษา จำนวน 379 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงใช้เทคนิคเดลฟาย เพื่อสร้างรูปแบบ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารและครู 17 คน ที่มีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป
ผลการวิจัย พบว่า การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการพัฒนาครูอาชีวศึกษาใน การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นการดำเนินการใน 2 ขั้นตอนใหญ่ ได้แก่ ขั้นตอน การวางแผน ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ลูกค้า และสภาพแวดล้อมการตลาด วิสัยทัศน์และการนำองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการวางแผนกลยุทธ์ อันนำไปสู่ขั้นตอนที่ 2 คือการปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาการปฏิบัติการ และผลลัพธ์จากการดำเนินการ ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ส่วนการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของครูมีประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้เพื่อการทำงาน ผู้บริหารและครูผู้ปฏิบัติให้ความคิดเห็นว่า รูปแบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความรู้ ทักษะ ในการใช้ เพื่อการรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ได้ร้อยละ 95Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว