กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การบริหารความเสี่ยง, การใช้งานอินเทอร์เน็ตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุความเสี่ยง 2) ประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง 3) พัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง ประชากรที่ใช้ในวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 15-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 132,088 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเสี่ยงในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 15-18 ปี มีจำนวน 12 ด้าน 2) ประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูล ด้านยาเสพติด ด้านเทคนิค ด้านความปลอดภัย ด้านส่วนบุคคล ด้านเพศ ด้านสนทนาออนไลน์ ด้านเกมออนไลน์ ด้านธุรกิจออนไลน์ ด้านจริยธรรม ด้านการพนัน และด้านกายภาพ 3) กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงมี 2 ระดับ คือ กลยุทธ์ระดับนโยบายและกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ซึ่งนำไปปรับใช้ในการบริหารสถานศึกษาตามภารกิจหลักทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารงานทั่วไปDownloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว