การสร้างและการบริหารกลุ่มของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อ การพัฒนาอาชีพ กรณีศึกษาในเขตจตุจักร กรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ปิยพร ท่าจีน

คำสำคัญ:

การสร้างกลุ่ม, การบริหารจัดการกลุ่ม, กลุ่มอาชีพ, กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสร้างกลุ่มสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อการพัฒนาอาชีพ 2) กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อการพัฒนาอาชีพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลผ่านกรณีศึกษาจากกลุ่มอาชีพ 2 กลุ่มจาก 2 ชุมชน และใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามปากเปล่า สัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 37 คน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม ชีวิตประจำวันในชุมชนของกรณีศึกษาและสังเกตบริบทชุมชน รวมทั้งการศึกษาเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ผลการวิจัยพบว่า 1) จุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างกลุ่มมาจากระเบียบกองทุนฯ ได้กำหนดเงื่อนไขให้มีการรวมกลุ่มของสมาชิกกองทุนฯ จากนั้นผู้นำชุมชนได้เผยแพร่ข้อมูลกองทุนฯ มีผลให้สตรีที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ สมาชิกตัดสินใจรวมเป็นกลุ่มด้วยความสมัครใจเพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ ผู้นำกลุ่มเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดด้านเวลาและการเป็นผู้ชักชวนการเลือกสมาชิกกลุ่มอยู่ที่ความเป็นญาติหรือเพื่อน ความไว้วางใจ ความรับผิดชอบ และการมีงานทำ 2) กระบวนการบริหารกลุ่มใช้ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการเป็นฐานที่สำคัญ การชำระคืนเงินเป็นกฎระเบียบกลุ่มเพียงข้อเดียว การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มใช้การพบปะพูดคุยกันตามปกติในชีวิตประจำวันที่ได้ปฏิบัติก่อนเกิดการรวมกลุ่ม มีความเป็นทางการต่ำ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของกลุ่มมีสูง การจัดการผลประโยชน์มีความเท่าเทียม ระหว่างสมาชิกกลุ่ม การแบ่งงานกันทำเฉพาะเรื่องการรวบรวมเงิน และการชำระคืนเงิน กล่าวได้ว่า การจัดการชำระคืนเป็นความรับผิดชอบหลัก ส่วนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารนำมาใช้จำกัด

Downloads

How to Cite

ท่าจีน ป. (2016). การสร้างและการบริหารกลุ่มของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อ การพัฒนาอาชีพ กรณีศึกษาในเขตจตุจักร กรุงเทพฯ. จันทรเกษมสาร, 22(43), 137–149. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/73113