ปี่ใน: บทบาทในวงปี่พาทย์
คำสำคัญ:
ปี่ใน, ปี่พาทย์, บทบาทหน้าที่, ดนตรีไทยบทคัดย่อ
ดนตรีไทยมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนรูปแบบของวงดนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมเครื่องดนตรีให้มากชิ้นขึ้น เพื่อเพิ่มอรรถรสในการฟังดนตรี รวมถึงการพัฒนารูปแบบของวงปี่พาทย์ นอกจากนี้ยังมีการรับวัฒนธรรมดนตรีของประเทศเพื่อนบ้านมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์มอญ และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ในขณะที่การปรับเปลี่ยนของวงปี่พาทย์เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ นั้น ปี่ใน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เพียงชิ้นเดียวที่มีบทบาทในวงปี่พาทย์ที่เกือบจะครอบคลุมทุกวงปี่พาทย์
ปี่ในมีบทบาทในการเป็นผู้ช่วยผู้นำวงและบางเวลาเป็นผู้นำวงเอง มีลักษณะการบรรเลงแบบโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง ตามลักษณะของปี่ การสร้างสำนวนยึดจากทำนองหลัก และบางครั้งมีการหยิบยืมสำนวนของเครื่องดนตรีชนิดอื่นมาใช้ นอกจากนี้มีการสอดแทรกเทคนิคเฉพาะ ระหว่างการดำเนินทำนองในทางเสียงยาว คือ การระบายลม เพื่อให้เสียงปี่ดังกังวานอยู่ตลอดเวลา
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว