ความคาดหวังของผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนเพื่อประกวดแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพกลุ่มศรีนครินทร์
คำสำคัญ:
นกปรอดหัวโขน, ความคาดหวัง, การประกวดแข่งขันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนเพื่อประกวดแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพกลุ่มศรีนครินทร์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของความเชื่อ ความเป็นไปได้ และการคาดคะเนที่มีต่อความคาดหวังของผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขนเพื่อประกวดแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพกลุ่มศรีนครินทร์ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนเพื่อประกวดแข่งขัน จำนวน 109 ราย จากตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกรวมทั้งใช้การสังเกตพฤติกรรมของผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนเพื่อประกวดแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพกลุ่มศรีนครินทร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปของผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนเพื่อการประกวดแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพกลุ่มศรีนครินทร์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 42 ปี ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ย 15,001–20,000 บาท มีจำนวนนกในครอบครองเฉลี่ย 9 ตัว มีประสบการณ์เพาะพันธุ์นกเฉลี่ย 6 ปี ได้นกที่เกิดจากการเพาะพันธุ์เฉลี่ย 6 ตัวต่อปี ซึ่งการเพาะพันธุ์ นกปรอดหัวโขนมีปัญหาระดับปานกลาง แต่ก็พอใจในผลการเพาะพันธุ์ ผู้เลี้ยงส่วนมากจะเก็บนกเพศผู้จนถึงอายุเฉลี่ย 7 ปี ไว้เพื่อทำการประกวดแข่งขันเท่านั้น ส่วนนกที่ไม่ใช้ประกวดแข่งขันมักนำไปให้หรือขายแก่ผู้เลี้ยงอื่น 2) ความเชื่อและความคาดคะเนมีอิทธิพลต่อความคาดหวังของผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนเพื่อประกวดแข่งขันร้อยละ 20 ข้อค้นพบชี้ชัดว่าผู้เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขน เพื่อประกวดแข่งขันสามารถมีความคาดหวังได้ แต่ไม่ควรคาดหวังสูงมากจนเกินพอดี
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว