การเร่งการสุกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ต่อคุณลักษณะทางเคมีกายภาพและสารหอมระเหย

Main Article Content

วรวลัญช์ ฉิมพะเนาว์

บทคัดย่อ

ผลของสารเอทีฟอน (250, 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร) และการใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางเคมีกายภาพและสารหอมระเหยในเนื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง พบว่าผลมะม่วงดิบ ที่นำมาเร่งการสุกโดยการใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และการใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ เริ่มสังเกตเห็นการสุกของเนื้อมะม่วงเมื่อเวลาผ่านไป 3 วัน เท่ากัน แต่มีลักษณะการสุกและรสชาติแตกต่างกัน โดยการใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้เปลือกมะม่วงมีสีเหลืองปนเขียว เนื้อมะม่วงมีสีเหลืองแบบมะม่วงสุก แต่ยังมีลักษณะแข็งและแน่นอยู่ เนื้อมะม่วงมีรสหวานอมเปรี้ยว ซึ่งลักษณะเนื้อมะม่วงที่ได้รวมถึงรสชาติมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปแปรรูปต่อ ซึ่งหากนำไปใช้ทางการค้า การใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งคุณภาพผลมะม่วงสุกที่ได้รวมถึงความปลอดภัยและความประหยัด ในขณะที่การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ ผลมะม่วงที่ได้มีการสุกที่ไม่สม่ำเสมอ รวมถึงลักษณะเนื้อมะม่วงที่มีลักษณะนิ่มเกินไปและรสชาติที่หวานเกินไป จึงไม่เหมาะสมสำหรับการนำไปแปรรูปต่อ เมื่อวิเคราะห์สารหอมระเหยในเนื้อมะม่วงโดยใช้ gas chromatography - mass spectrometry (GC-MS) พบว่าสารประกอบระเหยที่พบมากในเนื้อมะม่วงสุกคือ butanoic acid และ รองลงมาคือ สาร 3-carene, 4-carene, α-pinene, octanoic acid, 1,3,6-octatriene, β-caryophyllene, α-caryophyllene และ (3E,5Z)-undeca-1,3,5-triene นอกจากนี้ ยังพบว่าการเร่งการสุกโดยใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 มิลลิกรัมต่อลิตร และการใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ ทำให้เนื้อมะม่วงมีปริมาณสารหอมระเหยมากกว่าเนื้อมะม่วงที่ปล่อยให้สุกเองถึงเกือบ 2 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา หงษ์คู ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ และ อรพิน เกิดชูชื่น. 2555. การเร่งการสุกของทุเรียนหมอนทองต่อคุณลักษณะทางเคมีกายภาพและสารหอมระเหย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43(2) (พิเศษ): 417-420.

กาญจนา เหลืองสุวาลัย. 2537. การศึกษาการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ดัชนีการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการบ่มผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์แก้วจุก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 156 หน้า.

โจฮันเนส มึลล์เลอร์ มัทธิอัส เพลวา วิชชา สอาดสุด และ วูลแฟรม สเปรียร์. 2561. การประเมินศักยภาพในการปรับปรุงกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวในการผลิตมะม่วงในรัฐฉานตอนใต้ประเทศพม่า. วารสารเกษตร 34(1): 111-121.

จริงแท้ ศิริพานิช. 2544. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.

ธีรนุต ร่มโพธิ์ภักดิ์ เจริญ ขุนพรม สมนึก ทองบ่อ และ รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล. 2546. สรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ภายหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานวิจัย. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ. 124 หน้า.

ธีระ วัฒนศิริเวช. 2545. การศึกษาชนิดและปริมาณสารหอมระเหย น้ำตาล และกรดบางชนิดในมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่มีระยะการสุกและสภาวะการสุกแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 103 หน้า.

นิธิยา รัตนาปนนท์ และ ดนัย บุณยเกียรติ. 2548. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.

อภิตา บุญศิริ. 2556. การบ่ม. หน้า 125-158. ใน: ธวัชชัย รัตน์ชเลศ วิลาวัลย์ คําปวน และ ธีรนุช เจริญกิจ (บก.). มะม่วง-การผลิตและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กรุงเทพฯ. 836 หน้า.

AOAC. 2005. Official Methods of Analysis of AOAC International. 18th ed. AOAC International, Gaithersburg, Maryland. 2200 p.

Jha, S.K., S. Sethi, M. Srivastav, A.K. Dubey, R.R. Sharma, D.V.K. Samuel and A.K. Singh. 2010. Firmness characteristics of mango hybrids under ambient storage. Journal of Food Engineering 97(2): 208-212.

Kader, A.A. 1985. Postharvest biochemistry and technology: An overview. pp. 3-7. In: A.A. Kader, R.F. Kasmire, F.G. Mitchell, M.S. Reid, N.F. Sommer and J.F. Thompson (eds.). Postharvest Technology of Horticultural Crops. University of California, Davis, California.

Kader, A.A. and B. Mitcham. 2008. Optimum procedures for ripening mangoes. pp. 47-48. In: C.H. Crisosto and J.F. Thompson (eds.). Fruit Ripening and Ethylene Management. University of California, Davis, California.

Luangprasert, K., J. Uthaibutra and K. Saengnil. 2010. The effect of sugar application on the concentrations of anthocyanin and flavonol of ‘Mahajanaka’ mango (Mangifera indica L. cv. Mahajanaka) fruit. Chiang Mai Journal of Science 37(2): 355-362.

McGuire, R.G. 1992. Reporting of objective colour measurement. HortScience 27(12): 1254-1255.

Munafo J.P.Jr., J. Didzbalis, R.J. Schnell and M. Steinhaus. 2016. Insights into the key aroma compounds in mango (Mangifera indica L. ‘Haden’) fruits by stable isotope dilution quantitation and aroma simulation experiments. Journal of Agricultural and Food Chemistry 64(21): 4312-4318.

Quoc, L.P.T. and T.H. Duy. 2015. Effect of nopal gel solution on the preservation of banana (Musa paradisiaca). Agricultural and Biological Sciences Journal 3(1): 95-99.

Slaughter, D.C. 2009. Methods for management of ripening in mango: A review of literature. (Online). Available: www.mango.org/media/./ methods_for_management_of_ripening.pdf (May 3, 2017).

Sornsrivichai, J., J. Uthaibutra and T. Yantarasri. 2000. Controlling of peel and fresh color development of mango by perforation of modified atmosphere package at different temperatures. Acta Horticulturae 509: 387-394.

Wongpornchai, S., T. Sriseadka and S. Choonvisase. 2003. Identification and quantitation of the rice aroma compound, 2-Acetyl-1-pyrroline, in bread flowers (Vallaris glabra Ktze). Journal of Agricultural and Food Chemistry 5(2): 457-462.

Yang, S.F. 1985. Biosynthesis and action of ethylene. HortScience 20: 41-45.