การปรับตัวของผู้ปลูกข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ปวีณรัตน์ สิงสิน
รุจ ศิริสัญลักษณ์
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
แสงทิวา สุริยงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผู้ปลูกข้าวในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  2) การปรับตัวและการแก้ไขปัญหาในการปลูกข้าวของผู้ปลูกข้าว ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และ  3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ปลูกข้าวในการปรับตัวภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การวิจัยที่ใช้เป็นแบบ  mixed method (exploratory mixed method design) เป็นการวิจัยที่มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพก่อนแล้วจึงทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรจำนวน 7 ราย และสัมภาษณ์กลุ่ม จำนวน 13 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า ผู้ปลูกข้าว ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืช  ดินแห้ง  อีกทั้งปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าว  ด้านการปรับตัวผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 8 ด้านตามแนวทางที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่ม  จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกรให้ความสำคัญกับการปรับตัว  2 ด้าน โดยเลือกที่จะใช้ในการปรับตัวมากที่สุด คือการปรับตัวด้านเวลาในการปลูกและการปรับตัวด้านวิธีการปลูกซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณก็ได้ผลสอดคล้องกับเชิงคุณภาพ คือการปรับเวลาการปลูก (54.6%) และการปรับวิธีการปลูก (49.5%) ปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวของผู้ปลูกข้าว พบว่าขาดความรู้ ขาดการส่งเสริมเรื่องการปรับตัว และสนับสนุนจากหน่วยงาน ขาดงบประมาณในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้ปลูกข้าวเสนอว่าหน่วยงานรัฐควรวางแผนการจัดการน้ำ ให้การสนับสนุนด้านความรู้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นเพื่อให้การปรับตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการจัดอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2555. ภาวะโลกร้อน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://climate.tmd.go.th/ content/file/11 (26 กันยายน 2558).

เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร สหัสชัย คงทน แคทลิยา เอกอุ่น อิสระ พุทธสิมมา สุกิจ รัตนศรีวงษ์ สมปอง นิลพันธ์ ชิษณุชา บุดดาบุญ วิภารัตน์ ดำริเข้มตระกูล ปรีชา กาเพ็ชร สมชาย บุญประดับ วินัย ศรวัต และ กิ่งแก้ว คุณเขต. 2552. ผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการผลิต ข้าว อ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพดของประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://climatechange. jgsee.org/Admin/spaw2/uploads/files/Final%20report/PRECIS/ Final%20report%20 sugarcane%20cassava%20maize).pdf (26 กันยายน 2558).

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา. 2558. ปริมาณน้ำแม่กวงอุดมธาราปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.maekuangudomthara.com/water/dam_detail/286 (19 ตุลาคม 2558).

นิรมล ลี และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2561. ศักยภาพการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรบ้านบวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 34(1): 101-110.

พีระยศ แข็งขัน และ อนันต์ พลธานี. 2539. ผลของการขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโตต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต และผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารเกษตร 12(3): 256-262.

ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน. 2558. ปริมาณน้ำฝนอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: HTTP://HYDRO-1.NET/08HYDRO/HD-03/3-02.HTML (25 ตุลาคม 2558).

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2553. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.onep.go.th/index.php (15 ตุลาคม 2558).

Bengtsson, L. and K.I. Hodges. 2006. Storm tracks and climate change. Journal of Climate 19(15): 3518-3543.

Calzadilla, A., T. Zhu, K. Rehdanz, R.S.J. Tol and C. Ringler. 2014. Climate change and agriculture: Impacts and adaptation options in South Africa. Journal of Water Resources and Economics 5(1): 24-48.

Chavas, D.R., R.C Izaurralde, A.M. Thomson and X. Gao. 2009. Long-term climate change impacts on agricultural productivity in eastern China. Agricultural and Forest Meteorology 149(6-7): 1118-1128.

Fried, J.S., M.S. Torn and E. Mills. 2004. The Impact of climate change on wildfire severity: a regional forecast for northern California. Climatic Change 64(1-2): 169–191.

Hayhoe, K., S. Sheridan, L. Kalkstein and S. Greene. 2010. Climate change, heat waves, and mortality projections for Chicago. Journal of Great Lakes Research 36(2): 65-73.

Okpe, B. and G.C. Aye. 2014. Adaptation to climate change by farmers in Makurdi, Nigeria. Journal of Agriculture and Ecology Research International 2(1): 46-57.

Sekaleli, T.S.T. and K. Sebusi. 2013. African technology policy studies: Farmers’ response and their adaptation strategies to climate change in Mafeteng District, Lesotho. ATPS Publishing, Lesotho. 22 p.

Wilby, R.L., K.J. Beven and N.S. Reynard. 2007. Climate change and fluvial flood risk in the UK: more of the same? Hydrological Processes 22(14): 2511-2523.

Xiong, W., I. Holman, E. Lin, D. Conway, J. Jiang, Y. Xu and Y. Li. 2009. Climate change, water availability and future cereal production in China. Agriculture, Ecosystems & Environment 135(1-2): 58-69.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.