ความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พงศ์ศาสตร์ นาพรม
รุจ ศิริสัญลักษณ์
บุศรา ลิ้มนิรัรดร์กุล
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 3) ศึกษาถึงปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่จำนวน 100 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้หอมหัวใหญ่พันธุ์ซุปเปอร์เร็กซ์ (Superex) โรคพืชที่พบเป็นส่วนใหญ่ คือ โรคแอนแทรคโนส แมลงศัตรูพืชที่พบเป็นส่วนใหญ่ คือ หนอนกระทู้หอม เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ถูกต้องเหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับชนิดของศัตรูพืชที่พบ แต่มีเกษตรกรบางส่วนที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูในปริมาณมากกว่าที่ระบุไว้ในฉลาก เกษตรกรมีความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับมาก ในด้านการปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรมีระดับความถูกต้องในการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับมาก เมื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความถูกต้องในการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การได้รับการฝึกอบรมเรื่องการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จากการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ พบว่า เกษตรกรมีปัญหาด้านสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีราคาแพง และสภาพอากาศ รวมถึงภัยธรรมชาติ เช่น ลมแรง ฝนตกหนัก ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพของการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรได้ให้ข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมสนับสนุนและส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีให้แก่เกษตรกรให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรวรรณ พิมพ์จันทร์. 2547. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูถั่วเหลืองของเกษตรกรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 131 หน้า.
ชรินทร ศิริแก้ว. 2556. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้สารเร่ง พ.ด.7 ของเกษตรกรเพื่อการป้องกันแมลงศัตรูพืช อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 91 หน้า.
ณัฏฐวุฑท์ กุตระแสง ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และ นิวัฒน์ มาศวรรณา. 2560. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร. วารสารเกษตร 33(2): 235-244.
ดรุพัน แสนศิริพันธ์. 2537. ความตระหนักเกี่ยวกับพิษภัยของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง กิ่งอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 160 หน้า.
ต่อพงศ์ จันทร์พวง. 2543. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 95 หน้า.
สำนักงานเกษตรอำเภอแม่วาง. 2558. ข้อมูลเพื่อการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://maewang.chiangmai.doae.go.th/index_01.html (14 ตุลาคม 2558).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2557. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/ download/journal/trends_FEB2557.pdf (14 ตุลาคม 2558).
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่วาง. 2558. สรุปผลการตรวจหาระดับสารเคมีในกระแสเลือดเกษตรกรตำบลบ้านกาดและตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่วาง, เชียงใหม่.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. การผลิต - การตลาดหอมหัวใหญ่ปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/ main.php?filename=index (14 ตุลาคม 2558).
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.