การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ และการปลูกพืชที่หลากหลาย บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ และการปลูกพืชที่หลากหลาย บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 149 ราย จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำการเกษตร ต้นทุน ผลตอบแทน ปัญหา อุปสรรค และความต้องการการสนับสนุน ช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า การปลูกพืชที่หลากหลายทุก ๆ รูปแบบ ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะการปลูกผักกาดหอมและ สตอเบอรี่ พบว่า มีกำไรสุทธิ คือ 116,625 บาท/ไร่ ในขณะที่ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ ให้กำไรสุทธิ คือ 1,664 และ 1,553 บาท/ไร่ ตามลำดับ ดังนั้น นโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่หลากหลายแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดเมล็ดพันธุ์เพียงอย่างเดียว พร้อมกับสนับสนุนด้านการตลาด และการจัดการทรัพยากรน้ำให้กับเกษตรกร จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ
Article Details
References
กัญชลี เจติยานนท์ ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง ศักดิ์ชัย วิทยาอารีย์กุล วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ และ สุพรรณ-นิกา อินต๊ะนนท์. 2561. พฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรบ้านโพธิ์ประสาท ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเกษตร 34(2): 245-253
เขมรัฐ เถลิงศรี และ สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. 2558. การศึกษารายได้เกษตรกรจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวงจรอุบาทว์ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน. ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ 22(1):51-78
ดิเรก เครือจินลิ. 2559. ลุ่มน้ำแม่แจ่ม. มูลนิธิรักษ์ไท. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://climatechange-raksthai.org/ natural_detail.php?id=1049&sub=15 (15 ธันวาคม 2560).
ถนอมนวล ณ ป้อมเพชร. 2532. การอนุรักษ์ดินในประเทศกำลังพัฒนา. สำนักงานวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร. 109 หน้า.
พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์. 2558. จากคนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถึงอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และคนกินเนื้อสัตว์. เนชั่นสุดสัปดาห์ คอลัมน์ ขวัญของแผ่นดิน มูลนิธิชีวิตไท นนทบุรี
สุชนีย์ ทรัพย์สมบูรณ์ เบญจพรรณ เอกะสิงห์ ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และ พนม-ศักดิ์ พรหมบุรมย์. 2561. การจำแนกครัวเรือนเกษตรกรที่มีระบบการทำฟาร์มแบบปลูกข้าวเป็นพืชหลักในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารเกษตร 34(2): 255-267
สุวรรณา ประณีตวตกุล และ เอื้อ สิริจินดา. 2548. การวางแผน ระบบการเกษตรอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัย เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. 2560. การรุกรับปรับตัวของชุมชนในตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและกระบวนการประชาธิปไตยต่อการจัดทำแผนรองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://demadapt.net/wp-content/uploads/2017/10/Chaingmai_Thai-17-9-60.pdf (25 กุมภาพันธ์ 2561).
Burke, M. and D.B. Lobell. 2010. Climate effects on food security: An overview. pp. 13-30. In: D.B. Lobell and M. Burke (eds.). Climate Change and Food Security: Adapting Agriculture to a Warmer World, Springer, Dordrecht.
Darwin, R., R. Stacey and S. Shahla. 2005. Greenhouse gases and food security in low-income countries. pp. 71-111. In: R. Lal, B. A. Stewart, U. Norman and O.H. David (eds.). Climate Change and Global Food Security. Taylor & Francis, Boca Raton, FL.
Fang, H., L. Sun and Z. Tang. 2015. Effects of rainfall and slope on runoff, soil erosion and rill development: an experimental study using two loess soils. Hydrological Processes 29: 2649-2658.
Harold, C., B. Larson and L. Scott. 1994. Fertilizer Consumption Remains Low. International Agricultural and Trade Reports, Africa and Middle East Situation and Outlook Series, WRS-94-3. U.S. Department of Agriculture, Economic Research Service, Washington, DC.
Irmak, S., L.O. Odhiambo, W.L. Kranz and D.E. Eisenhauer. 2011. Irrigation efficiency and uniformity and crop water use efficiency. University of Nebraska, Lincoln.
Klein, T., A. Holzkämper, P. Calanca, R. Seppelt and J. Fuhrer. 2013. Adapting agricultural land management to climate change: a regional multi-objective optimization approach. Landscape Ecology 28(10): 2029–2047.
Liu, Q., L. Chen and J. Li. 2001. Influences of slope gradient on soil erosion. Applied Mathematics and Mechanics 22(5): 510-519.
Morison, J.I.L., N.R. Baker, P.M. Mullineaux and W.J. Davies. 2008. Improving water use in crop production. Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences 363(1491): 639-658.
Nicolopoulou-Stamati, P., S. Maipas, C. Kotampasi, P. Stamatis and L. Hens. 2016. Chemical pesticides and human health: The urgent need for a new concept in agriculture. Frontiers in Public Health 4: 148, doi: 10.3389/fpubh.2016.00148.
Seckler, D., D. Gollin and P. Antoine.1991. Agricultural Potential of “Mid-Africa”: A Technological Assessment. World Bank Discussion Paper 126. World Bank, Washington, DC.
Vezina, K., F. Bonn and C.P. Van. 2006. Agricultural land-use patterns and soil erosion vulnerability of watershed units in Vietnam’s northern highlands. Landscape Ecology 21: 1311-1325.