ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการได้รับสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อสวัสดิการของหน่วยงาน 3) ปัญหา อุปสรรค และ ข้อจำกัดในการทำงานภายใต้การสนับสนุนสวัสดิการของหน่วยงาน ประชากรเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งหมด 589 คน ซึ่งทำการสุ่มตัวอย่างมาจำนวน 238 ราย ผลการศึกษา พบว่า สภาพการได้รับสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าในใจ ในสิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นอย่างดี จากผลการวิจัยพบว่า คิดเป็นร้อยละ 95.38 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ในเรื่องสิทธิ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการสิทธิ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่ทุกหน่วยงานกำหนดขึ้น แต่ยังมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.56 ที่ไม่แน่ใจในการได้รับสวัสดิการด้านต่าง ๆ จากหน่วยงาน การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ พบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญกับธนาคารออมสินมีแนวโน้มพึงพอใจต่อสวัสดิการมากขึ้นร้อยละ 18.03 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีภาระหนี้สินกับสหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่จบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีแนวโน้มมีความพึงพอใจในสวัสดิการมากขึ้น ร้อยละ 27.46 เมื่อเทียบกับ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่จบในด้านสาขาวิชาอื่น ๆ ด้านปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการสนับสนุนสวัสดิการจากหน่วยงาน พบว่า งบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานแต่ละโครงการ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปปฏิบัติราชการไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้เสนอว่าควรมีการเพิ่มงบประมาณในการออกพื้นที่และเพิ่มยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางที่มีอย่างจำกัดเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556ก. กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลังกองการเจ้าหน้าที่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.person. doae.go.th/person2011/node/191 (12 มีนาคม 2561).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556ข. กลุ่มสวัสดิการและเจ้าหน้าที่สัมพันธ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.person.doae.go.th/ person2011/node/135 (12 มีนาคม 2561).
พนัส คำนันท์ และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2560. ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการอนุวัติระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ MRCF ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(3): 544-552.
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง โชตนา ลิ่มสอน เสาวลักษณ์ ฤทธิ์ อนันต์ชัย และ ชัยกร สีเหนี่ยง. 2557. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Analysis) ระบบส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 7(3): 601-612.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต เฉลิมพล แจ่มจันทร์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง. 2557. คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. เอกสารทางวิชาการ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 89 หน้า.
สมยศ นาวีการ . 2533. การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ. บรรณกิจเทรดดิ้ง, กรุงเทพฯ. 759 หน้า.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2553. รายงานสถิติประชากรและเคหะ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/population.html (12 มีนาคม 2561).
สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2551. วิชาการส่งเสริมการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.ocsc.go.th/ job/วิชาการส่งเสริมการเกษตร (12 มีนาคม 2561).
อดิสรณ์ ลาภพระแก้ว. 2557. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 124 หน้า.
Anderson, J.R. and G. Feder. 2003. Agriculture and Rural Development Department World Bank. (Online). Available: http://documents. worldbank.org/curated/en/254531468741366218/120520322_20041117164046/additional/multi0page.pdf (March 12, 2018).
Nafees, A., M. Israr, K. Nawab and B.U. Khan. 2014. Economic incentives and satisfaction of the Agricultural extension agents. International Journal of Agricultural Extension 2(1): 13-19.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.