การเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงนางพญา <I>Tetragonula laeviceps</I> (Smith) Species Complex ในสภาพกึ่งธรรมชาติ

Main Article Content

ทักษพร สมมิตร
จิราพร กุลสาริน
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
สมนึก บุญเกิด
กนกวรรณ คำยอดใจ
กฤษณะ เรืองฤทธิ์

บทคัดย่อ

การเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรง Tetragonula laeviceps (Smith) species complex ในรังเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่งที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไว้เพื่อเพิ่มขยายจำนวนรังในเชิงการค้า แต่เนื่องจากผึ้งชันโรงนางพญาที่มีจำกัดภายในรังทำให้ขยายรังได้น้อย การทดลองวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงนางพญาในสภาพกึ่งธรรมชาติ วงจรชีวิตและการอนุบาลผึ้งชันโรงนางพญาพรหมจรรย์ โดยเพาะเลี้ยงภายใต้ตู้ควบคุมอุณหภูมิ 28 ± 1 องศาเซลเซียส ความชื้น 70-75 เปอร์เซ็นต์ พบว่าปริมาณอาหารที่ตัวหนอนได้รับ 64 ไมโครลิตร พบอัตรารอดในระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย เฉลี่ยอยู่ที่ 34.28, 39.10 และ 62.63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขนาดของผึ้งชันโรงนางพญาเล็กกว่าผึ้งชันโรงนางพญาที่เพาะเลี้ยงตามธรรมชาติ การศึกษาวงจรชีวิตของผึ้งชันโรงนางพญา พบว่ามีการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวหนอน ระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย ระยะเวลาการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะไข่จนเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลาเฉลี่ย 44.50 ± 0.53 วัน การอนุบาลผึ้งชันโรงนางพญาพรหมจรรย์ 3 วัน พบว่าหากผึ้งชันโรงงานยอมรับผึ้งชันโรงนางพญาพรหมจรรย์ จะไม่กัดหรือทำร้ายและมีการป้อนอาหารให้ สามารถนำไปปล่อยไว้ในรังที่ไม่มีผึ้งชันโรงนางพญาได้ หลังจากปล่อยเข้าสู่รัง 12 ชั่วโมง พบว่าผึ้งชันโรงนางพญาพรหมจรรย์ผสมพันธุ์กับผึ้งชันโรงตัวผู้ และวางไข่เพื่อเพิ่มจำนวนประชากร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baptistella, A.R., C.C.M. Souza, W.C. Santana and A.A.E. Soares. 2012. Techniques for the in vitro production of queens in stingless bees (Apidae, Meliponini). Sociobiology 59(1): 297-310.

Bee Health. 2010. Illustrations from morphology of the honey bee larva by J.A. Nelson. (Online). Available: https://articles. extension.org/pages/26466/illustrations-from-morphology-of-the-honey-bee-larva-by-ja-nelson (September 21, 2018).

Boongird, S. 2014a. Managing colonies of the fusco bee, Tetragonula fuscobalteata (Cameron) (Hymenoptera; Apidae) for the pollination of durian, Durio zibethinus Murr., and its impact on honey composition. Ramkhamhaeng Research Journal of Sciences and Technology 17(2): 23-39. (in Thai)

Boongird, S. 2014b. Taxonomy of Stingless Bees in Thailand. Faculty of Science, Ramkhamhaeng University, Bangkok. 135 p. (in Thai)

Boongird, S. 2017. Stingless bees. Paper presented at Workshop on In Vitro Rearing of Stingless Bee Virgin Queen. Agricultural Technology Promotion Center (Economic Insects), Chiang Mai Province, Chiang Mai. 12 p. (in Thai)

Boongird, S. 2018. Beekeeping with Fusco Bee. Faculty of Science, Ramkhamhaeng University, Bangkok. 116 p. (in Thai)

Jaiyen, S., J. Kulsarin, S. Buranapanichpan and K. Khamyotchai. 2018. Effects of hive patterns on storage pot arrangement of stingless bees, Tetragonula laeviceps species complex. Journal of Agriculture 34(2): 215-226. (in Thai)

Khamyotchai, K., H. Bänziger and J. Kulsarin. 2015. Nest entrance architectural types of Tetragonula laeviceps (Smith) a stingless bee species complex (Hymenoptera: Apidae: Meliponini) in Thailand and Peninsular Malaysia. Journal of Agriculture 31(1): 1-9. (in Thai)

Menezes, C., A. Vollet-Neto and V.L.I. Fonseca. 2013. An advance in the in vitro rearing of stingless bee queens. Apidologie 44: 491-500.

Theanworrakant, N. 2015. Stingless bee hive types. Paper presented at Workshop on Culture of Stingless Bee. National Science and Technology Development Agency, Pathum Thani. 1 p. (in Thai)

Sawatthum, A. 2013. Miracle of Stingless Bees. Triple Group Co., Ltd., Pathum Thani. 27 p. (in Thai)

Tongklib, C. and V. Kitpreechavanich. 2006. Aspergillus isolated from Thailand and their ability on animal feed enzyme production. Paper presented at the 44th Kasetsart University Annual Conference, Bangkok. 8 p.