การพัฒนามาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร

Main Article Content

พิชชาภา โอจงเพียร
พาณี ปิมปา
เพ็ญศักดิ์ จันทราวุธ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับมาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการบริโภคและแปรรูป  โดยทำการสกัดเปลือกแก้วมังกรด้วยน้ำ เอทานอล และเอทานอลต่อน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 โดยวิธีแช่หมัก (maceration) แล้วนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดเปลือกแก้วมังกรที่สกัดด้วยเอทานอลต่อน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ให้ฤทธิ์สูงสุดในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH radical scavenging มีค่า IC50 เท่ากับ 4.21 ± 0.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จึงเลือกสารสกัดนี้มาใช้ในขั้นตอนเตรียมตำรับมาสก์ใต้ตาต่อไป ตำรับมาสก์ใต้ตาที่ประกอบด้วยเจลาติน (6.5 กรัม) กลีเซอรีน (17.16 กรัม) เพกติน (1.28 กรัม) และกลูตาราลดีไฮด์รีเอเจนท์ (0.15 กรัม) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการหล่อแบบเดิม (conventional solution casting method) และจากการศึกษาสมบัติทางกายภาพพบว่า ตำรับมาสก์ใต้ตาตามสูตรนี้ให้ค่าความนุ่ม (291.50 ± 4.95 กรัม)  ความหนา (0.16 ± 0.02 เซนติเมตร)  และพฤติกรรมการพองตัวใกล้เคียงกับมาสก์ใต้ตาที่มีขายในท้องตลาดที่นำมาเปรียบเทียบ จึงเลือกตำรับมาสก์ใต้ตานี้มาใส่สารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่คัดเลือกไว้ เพื่อทดสอบการแพ้และความชุ่มชื้นต่อผิวหนังของอาสาสมัคร ซึ่งใช้อาสาสมัครคนไทยจำนวน 30 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปี โดยให้แปะแผ่นมาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่บริเวณท้องแขนเป็นเวลา 10 นาที แล้ววัดค่าความแดงของผิวหนังด้วยเครื่อง Mexameter® ก่อนและหลังใช้ 30 นาที และวัดค่าความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยเครื่อง Corneometer® ก่อนและหลังใช้ที่เวลา 10, 15 และ 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า มาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับผิวหนังบริเวณที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนั้น มาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่พัฒนาได้ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะสามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้สำหรับผิวหนังต่อไป เนื่องจากมีศักยภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลลักษณ์ มาสำโรง และ วรพจน์ สุนทรสุข. 2557. ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และต้านแบคทีเรียของสารสกัดเปลือกแก้วมังกร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45(2): 269-272.

กฤติยา ไชยนอก. 2558. แก้วมังกรผลไม้ชื่อมงคล. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 33(4): 3-15.

นิดดา หงส์วิวัฒน์ และ ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. 2550. แก้วมังกร ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ. 324 หน้า.

พสุธร อุ่นอมรมาศ และ สรณะ สมโน. 2559. การวิเคราะห์หาสารสำคัญและฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้บางชนิด. วารสารเกษตร 32(3): 435-445.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 2558. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 302 ง. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, กรุงเทพฯ. 4 หน้า.

เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ. 2557. การแปรรูปแก้วมังกร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: hhttp://www.clinictech.most.go.th/online/pages/techlist_display.asp?tid=1370 (15 มีนาคม 2560).

Araujo, P. 2009. Key aspects of analytical method validation and linearity evaluation. Journal of Chromatography B Analytical Technologies in the Biomedical and Life Sciences 877(23): 2224-2234.

Azeredo, H.M.C., R. Morrugares-Carmona, N. Wellner, K. Cross, B. Bajka and K.W. Waldron. 2016. Development of pectin films with pomegranate juice and citric acid. Food chemistry 198: 101-106.

Bhattarai, N., J. Gunn and M. Zhang. 2010. Chitosan-based hydrogels for controlled, localized drug delivery. Advanced Drug Delivery Reviews 62: 83-99.

Dastidar, T.G. and A.N. Netravali. 2012. Green crosslinking of native starches with malonic acid and their properties. Carbohydrate polymers 90(4): 1620-1628.

Devi. K.V., S. Saisivam, G.R. Maria and P.U. Deepti. 2003. Design and evaluation of matrix diffusion controlled transdermal patches of verapamil hydrochloride. Drug Development and Industrial Pharmacy 29(5): 495-503.

Farris, S., K.M. Schaich, L. Liu, P.H. Cooke, L. Piergiovanni and K.L. Yam. 2011. Gelatin–pectin composite films from polyion-complex hydrogels. Food Hydrocolloids 25(1): 61-70.

Fathordoobady, F., H. Mirhosseini, J. Selamat and M.Y.A. Manap. 2016. Effect of solvent type and ratio on betacyanins and antioxidant activity of extracts from Hylocereus polyrhizus flesh and peel by supercritical fluid extraction and solvent extraction. Food Chemistry 202: 70-80.

Gupta, B., M. Tummalapalli, B.L. Deopura and M.S. Alam. 2014. Preparation and characterization of in-situ crosslinked pectin–gelatin hydrogels. Carbohydrate Polymers 106: 312-318.

Lodén, M. 1992. The increase in skin hydration after application of emollients with different amounts of lipids. Acta Dermato Venereologica 72: 327-330.

Lodén, M., A.C. Andersson, C. Andersson, T. Frödin, H. Oman and M. Lindberg. 2001. Instrumental and dermatologist evaluation of the effect of glycerine and urea on dry skin in atopic dermatitis. Skin Research and Technology 7: 209-213.