สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วารสารเกษตร ฉบับนี้เป็นปีที่ 33 ฉบับที่ 3 แล้วครับ ฉบับหน้าก็จะขึ้นปีที่ 34 สำหรับฉบับนี้มีบทความวิจัยด้วยกัน 15 เรื่อง ประกอบด้วย สาขาพืชสวน และพืชไร่สาขาละ 1 เรื่อง ปฐพีศาสตร์ 2 เรื่อง โรคพืช 1 เรื่อง กีฏวิทยา 2 เรื่อง อุตสาหกรรมเกษตร 1 เรื่อง ส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร 3 เรื่อง สัตวศาสตร์ 3 เรื่อง และประมง 1 เรื่อง จะเห็นได้ว่าบทความวิจัยที่ตีพิมพ์นี้มีความหลากหลายสาขาเป็นอย่างมาก และผู้เขียนเองก็มาจากสถาบันการศึกษาที่หลากหลายเช่นกันซึ่งกองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียน ที่ได้กรุณาแบ่งปันข้อมูลดี ๆ มาให้พวกเราได้ทราบกัน

ผมมีข่าวที่เป็นที่น่ายินดี คือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index, TCI)ได้ประกาศค่า Impact factors (IF) ประจำปี 2559 ปรากฏว่าวารสารเกษตรมีค่า IF สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา คือมีค่า IF = 0.591 ในขณะที่ปี 2558 มีค่า IF = 0.393 ซึ่งนับว่าสร้างความปิติให้กับกองบรรณาธิการทุกท่านที่ได้ช่วยกันคัดกรองบทความวิจัยอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีบทความวิจัยที่ถูกปฏิเสธไป 20% ในปีที่ผ่านมา

สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในฉบับนี้ ส่วนใหญ่จะตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศสำหรับการวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรและอาหาร (Food and Agriculture) ซึ่งรัฐบาลได้พยายามพลักดันผลงานวิจัยเหล่านี้ ไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เพราะต้องการจะเห็นงานวิจัย จากหิ้งสู่ห้าง รวมทั้งต้องการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ดังเช่น การพัฒนามาสก์ใต้ตา ที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร อีกทั้งยังส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต้องการให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยที่ดีมีสาระอีกมาก ที่ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ รวมถึงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

เผยแพร่แล้ว: 2020-06-11

การวิเคราะห์องค์ประกอบของแอนโทไซยานินและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของดอกกล้วยไม้ช้าง

ณัฐดนัย สุเมธาโชติพงศ์, กรวรรณ ศรีงาม, วีณัน บัณฑิตย์, ณัฐา โพธาภรณ์

311-221

ผลของแบคทีเรียที่ผลิตสาร Indole-3-Acetic Acid (IAA) ต่อการเจริญเติบโตและ ปริมาณธาตุอาหารของพริกขี้หนู

จีราภรณ์ อินทสาร, ฉัตรปวีณ์ เดชจิรรัตนสิริ, ประวิทย์ บุญมี

333-344

คุณลักษณะของ Azospirillum spp. สายพันธุ์ท้องถิ่นในปมถั่วลิสงและ การอยู่ร่วมกันได้กับ Bradyrhizobium ในประเทศไทย

พรรณปพร กองแก้ว, ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, อัจฉรา นันทกิจ

345-355

ประสิทธิภาพเศษใบและก้านใบยาสูบในการควบคุมแมลงศัตรูผักบางชนิด

ศุภกร วงศ์สุข, เยาวลักษณ์ จันทร์บาง, จิราพร กุลสาริน

367-376

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

นราศิณี แก้วใหลมา, สุรพล เศรษฐบุตร, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล , ประทานทิพย์ กระมล

387-395

การพัฒนามาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร

พิชชาภา โอจงเพียร, พาณี ปิมปา, เพ็ญศักดิ์ จันทราวุธ

415-425

งาขี้ม้อน: ทางเลือกอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มปริมาณกรดไขมันโอเมกาสามในเนื้อสัตว์และไข่สำหรับเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

นภัสสร มนทา, วินัย โยธินศิริกุล, กิตติพงษ์ ทิพยะ, ครรชิต ชมพูพันธ์, Christian Lambertz, สัญชัย จตุรสิทธา

463-473