ประสิทธิภาพเศษใบและก้านใบยาสูบในการควบคุมแมลงศัตรูผักบางชนิด

Main Article Content

ศุภกร วงศ์สุข
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
จิราพร กุลสาริน

บทคัดย่อ

เศษใบและก้านใบยาสูบเบอร์เลย์และเวอร์ยิเนียได้นำมาทดสอบประสิทธิภาพในควบคุมแมลงศัตรูพืชผัก ได้แก่ เพลี้ยอ่อนผักกาด (Lipaphis erysimi) เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii) และหนอนใยผัก (Plutella xylostella) สารสกัดเศษใบและก้านใบยาสูบจากทั้ง 2 พันธุ์ ที่สกัดด้วยน้ำ เป็นเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก บนเพลี้ยอ่อนผักกาด พบว่า ทั้งสารสกัดจากเศษใบและก้านใบยาสูบเบอร์เลย์และเวอร์ยิเนีย ให้ผลในการตาย 100% ในเวลา 24 ชั่วโมง ยกเว้นสารสกัดก้านใบเวอร์ยิเนียแช่นาน 24 ชั่วโมง ให้ผลการตาย 95.83% เมื่อทดสอบกับหนอนใยผักวัย 2 สารสกัดเศษใบเบอร์เลย์แช่ในเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ให้ผลอัตราการตาย 90.00, 72.50 และ 55.00% ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในสารสกัดก้านใบยาสูบเบอร์เลย์ด้วยระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ให้ผลอัตราการตายไม่แตกต่างทางสถิติ 25.00, 25.00 และ 40.00% ตามลำดับ ผลทดสอบในโรงเรือนโดยการพ่นโดยตรงลงบนพืชที่มีแมลง สารสกัดเศษใบยาสูบเบอร์เลย์และเวอร์ยิเนียสามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนผักกาด และเพลี้ยอ่อนฝ้าย ได้อย่างสมบูรณ์ ในเวลา 1วัน และพบว่าแมลงไม่กลับเข้าทำลายพืชในเวลา 3 วัน จากการวิเคราะห์ปริมาณสารนิโคตินในการสกัดยาสูบจากเศษใบและก้านใบยาสูบ 100 กรัม มีปริมาณนิโคตินที่พบตามลำดับดังนี้ เศษใบเบอร์เลย์ (1.32%) ก้านใบเบอร์เลย์ (0.56%) เศษใบเวอร์ยิเนีย (0.55%) และก้านใบเวอร์ยิเนีย (0.20%)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สุเมธะ และ เยาวลักษณ์ จันทร์บาง. 2557. ฟิตเนสคอสต์ของความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงกลุ่มไดอะไมด์ในหนอนใยผัก. วารสารเกษตร 30(1): 29-37.

ชนานันท์ แพงไทย และ จักรกฤษณ์ มหัจฉริยวงศ์. 2550. การคัดเลือกและผลิตสารสกัดจากพืชในการควบคุมลูกนํ้ายุงลาย. สาขาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 6 หน้า.

ธรรมนูญ ฤทธิ์มณี. 2526. ยาสูบ. วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา, กรุงเทพฯ. 202 หน้า.

ปัณรสี สู่ศิริรัตน์. 2559. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกว่านหางจระเข้ในการควบคุมหนอนใยผัก. วารสารเกษตร 32(3): 369-378.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ ประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์ ปวีณา ปั้นกระจ่าง และ กุมภการ สมมิตร. 2555. สรุปสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2555. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัย มหิดล, กรุงเทพฯ. 137 หน้า.

Abbott, W.S. 1925. A method of computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology 18(2): 265-267.

Akehurst, B.C. 1981. Tobacco. 2nd ed. Longman, London. 764 p.

Bayhan, S.O., E. Bayhan and M.R. Ulusoy. 2006. Impact of neem and extracts of some plants on development and fecundity of Aphis gossypii Glover (Homoptera: Aphididae). Bulgarian Journal of Agricultural Science 12: 781-787.

Mishra D., A.K. Shukla, A.K. Dixit and K. Singh. 2006. Insecticidal activity of vegetable oils against Mustard aphid, Lipaphis erysimi Kalt. under field condition. Journal of Oleo Science 55(5): 227-231.

Leffingwell, J.C. 1999. Leaf chemistry: 8A basic chemical constituents of tobacco leaf and differences among tobacco types. pp. 265-284. In: D.L. Davis and M.T. Nielsen (eds.). Tobacco: Production, Chemistry and Technology. Blackwell Science Ltd., Oxford.

Lu, G.H. and S. Ralapati. 1998. Application of high-performance capillary electrophoresis to the quantitative analysis of nicotine and profiling of other alkaloids in ATF-regulated tobacco products. Electrophoresis 19(1): 19-26.