การวิเคราะห์องค์ประกอบของแอนโทไซยานินและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของดอกกล้วยไม้ช้าง

Main Article Content

ณัฐดนัย สุเมธาโชติพงศ์
กรวรรณ ศรีงาม
วีณัน บัณฑิตย์
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

กล้วยไม้ช้าง (Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl.) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย และเป็นกล้วยไม้พื้นถิ่นของประเทศไทย โดยทั่วไปมี 4 สายพันธุ์ คือ ช้างเผือก (ดอกสีขาวล้วน) ช้างกระ (ดอกสีขาวมีจุดสีม่วงแดงกระจายบนกลีบดอก) ช้างพลาย (ดอกสีขาวมีแต้มหรือปื้นสีม่วงแดงกระจายบนกลีบดอก) และช้างแดง (ดอกสีม่วงแดงเข้ม) ปัจจุบันกล้วยไม้ช้างได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีสันใหม่ ๆ ออกมา เช่น ช้างส้ม (ดอกสีส้มอมชมพูอ่อน) และช้างชมพู (ดอกสีชมพูอมม่วงอ่อน) เป็นต้น จึงน่าจะมีการศึกษาองค์ประกอบของสารให้สีกลุ่มแอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้ช้าง การใช้เทคนิคเอชพีแอลซีเพื่อจำแนกสารให้สีในกลีบดอก และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ช้างโดยเทคนิคอาร์เอพีดีที่ใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 20 ไพรเมอร์ พบว่าไพรเมอร์ OPF01, OPF04, OPF05, OPF06, OPF09, OPF12 และ OPF14 สามารถใช้ในการวิเคราะห์ได้ โดยไพรเมอร์ OPF01 และ OPF06 สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและจัดแบ่งกลุ่มสายพันธุ์กล้วยไม้ช้างออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะสีที่ปรากฏบนกลีบดอก สารให้สีที่เป็นองค์ประกอบของสีดอก และความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ช้างเผือก ไม่ปรากฏสารให้สีกลุ่มแอนโทไซยานินในดอก กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ช้างกระและช้างพลาย มีพื้นสีขาวและมีจุดหรือแต้มสีม่วงแดง พบ pelargonidin-3-O-glucoside, peonidin-3-O-glucoside, delphinidin และ kuromanin เป็นองค์ประกอบหลักของสีดอก มีความเหมือนทางพันธุกรรม 78% ส่วนกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ช้างแดงและช้างส้ม มีพื้นสีทึบ พบ kuromanin, pelargonidin-3-O-glucoside, peonidin-3-O-glucoside, delphinidin และ cyanidin เป็นองค์ประกอบหลัก มีความเหมือนทางพันธุกรรม 65.6%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครรชิต ธรรมศิริ. 2547. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 283 หน้า.

ณัฐา ควรประเสริฐ. 2545. กล้วยไม้วิทยา 1. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 76 หน้า.

นิตยา จันกา เฉลิมชัย วงษ์อารี และ ศิริชัย กัลยาณรัตน์. 2551. แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้พันธุ์แท้ 3 สายพันธุ์ในเผ่า VANDEAE Lindley. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39: 3 (พิเศษ): 339-342.

มัลลิกา ดวงเขตต์ ณัฐา โพธาภรณ์ และ วีณัน บัณฑิตย์. 2557. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ Doritis pulcherrima Lindl. ต้นแคระ โดยเทคนิคอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์. วารสารเกษตร 30(2): 99-109.

สุพัตรา เจริญภักดี และ วีณัน บัณฑิตย์. 2548. การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะดอกของ กล้วยไม้สกุลช้าง. วารสารเกษตร 21(2): 99-105.

สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2545. จีโนมและเครื่องหมายดีเอ็นเอ: ปฏิบัติการอาร์เอพีดีและเอเอฟแอลพี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

แสงทอง พงษ์เจริญกิต จันทร์เพ็ญ สะระ ธีรนุช เจริญกิจ และ ฉันทนา วิชรัตน์. 2559. การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี. วารสารเกษตร 32(1): 1-8.

Durst, R. W. and R. E. Wrolstad. 2005. Separation and characterization of anthocyanins by HPLC. pp. 33-45. In: R. E. Wrolstad, T. E. Acree, E. A. Decker, M. H. Penner, D. S. Reid, S. J. Schwartz, C. F. Shoemaker, D. M. Smith and P. Sporns (eds.). Handbook of Food Analytical Chemistry: Pigments, Colorants, Flavors, Texture, and Bioactive Food Components. John Wiley & Sons, Inc., Hoboken, New Jersey.

Grotewold, E. 2006. The genetics and biochemistry of floral pigments. Annual Review of Plant Biology 57: 761-780.

Jackman, R.L. and J.L. Smith. 1996. Anthocyanins and betalains. pp. 244-309. In: G. A. F. Hendry and J. D. Houghton (eds.). Natural Food Colorants. 2nd ed. Chapman and Hall, Glasgow.

Junka, N., C. Wongs-Aree, S. Kanlayanarat and K. Thunomchit. 2007. Predominance of cyanidin found in flower from two species of Aerides orchid. Acta Horticulturae 755: 549-556.

Kazama, K., N. Noda and M. Suzuki. 2003. Flavonoid composition related to petal color in different lines of Clitoria ternatea. Phytochemistry 64: 1133-1139.

Kuehnle, A.R., D.H. Lewis, K.R. Markham, K.A. Mitchell, K.M. Davies and B.R. Jordan. 1997. Floral flavonoids and pH in Dendrobium orchid species and hybrids. Euphytica 95(2): 187-194.

Lowry, J.B. and S.C. Keong. 1973. A preliminary study of Malaysian orchid pigments. Malay Journal of Science 2: 115-121.

Mazza, G. and E. Miniati. 1993. Anthocyanins in fruits, vegetables and grains. CRC Press, Boca Raton. 362 p.

Phengphachanh, B., D. Naphrom, W. Bundithya and N. Potapohn. 2013. Differential gene expression during flower bud initiation and flower bud development of Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl. Journal of Agricultural Technology 9: 1285-1295.

Rodriguez-Saona, L.E. and R.E. Wrolstad. 2005. Extraction, isolation and purification of anthocyanins. pp. 7-17. In: R. E. Wrolstad, T. A. Acree, E. A. Decker, M. H. Penner, D. S. Reid, S. J. Schwartz, C. F. Shoemaker, D. M. Smith and P. Sporns (eds.). Handbook of Food Analytical Chemistry: Pigments, Colorants, Flavors, Texture and Bioactive Food Components. John Wiley and Sons, Inc., Hoboken, New Jersey.

Saito, N., K. Toki, K. Uesato, A. Shigihara and T. Honda. 1994. An acylated cyanidin glycoside from the red-purple flowers of Dendrobium. Phytochemistry 37: 245-248.

Tanaka, Y., N. Sasaki and A. Ohmiya. 2008. Biosynthesis of plant pigments: anthocyanins, betalains and carotenoids. The Plant Journal 54: 733-749.

Tatsuzawa, F., N. Saito, H. Seki, M. Yokoi, T. Yukawa, K. Shinoda and T. Honda. 2004. Acylated anthocyanins in the flowers of Vanda (Orchidaceae). Biochemical Systematic and Ecology 32: 651-664.

Taywiya, P., W. Bundithya and N. Potapohn. 2008. Analysis of genetic relationship of the genus Phalaenopsis by RAPD technique. Acta Horticulturae 788: 39-42.