ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นราศิณี แก้วใหลมา
สุรพล เศรษฐบุตร
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
ประทานทิพย์ กระมล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ และทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรอินทรีย์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ 3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ของเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรในตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร จำนวน 368 ราย ซึ่งแบ่งได้เป็นกลุ่มที่ทำเกษตรอินทรีย์ 91 ราย และกลุ่มที่ไม่ทำเกษตรอินทรีย์ 277 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวนตัวอย่าง 192 ราย จากประชากรทั้งหมด 368 ราย ทำการสุ่มโดยใช้วิธี proportional stratified sampling ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 47 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 145 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่เชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) การได้รับการฝึกอบรม 2) ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ 3) ทัศนคติของเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ 4) อายุของเกษตรกร 5) ขนาดของพื้นที่ผลิตพืช 6) จำนวนแรงงานที่ใช้ในการเกษตร และ 7) ระยะเวลาประกอบอาชีพการเกษตร ในด้านปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรพบว่า การทำเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เกษตรกรมีความรู้น้อย การควบคุมศัตรูพืชทำได้ยาก แหล่งจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีจำกัด ต้องใช้เวลามากในการดูแลพืชที่ปลูก และไม่สามารถควบคุมหรือทำตามขั้นตอนการทำเกษตรอินทรีย์ได้ทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2555. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2542. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กองแก้ว อินทวงค์ และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอสังทอง นครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว. วารสารเกษตร 27(2): 129-136.

ชนวน รัตนวราหะ. 2550. เกษตรอินทรีย์. สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

ณัฐวุฒิ จั่นทอง และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2559. การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร 32(1): 19-27.

ตะวัน ห่างสูงเนิน พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ และ รุจ ศิริสัญลักษณ์. 2557. ระบบเกษตรอินทรีย์ในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 30(1): 61-69.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2537. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. ฉบับปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. บีแอนด์บี พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.

ไพบูลย์ สุทธสุภา นรินทร์ชัย พัฒนพงศา และสนิท วงศ์ประเสริฐ. 2540. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกกาแฟอราบิก้าบนที่สูง. วารสารเกษตร 13(3): 274-279.

ยุทธพล ทองปรีชา และ ดุษฎี ณ ลำปาง. 2554. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารเกษตร 27(1): 1-10.

วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2545. ความรู้เบื้องต้นเกษตรอินทรีย์. มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, กรุงเทพฯ.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม สุดารัตน์ อุทธารัตน์ ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์ และ อุบลรัตน์ หยาใส่. 2559. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(1): 29-38.

Hill R.C., W.E. Griffiths and G.C. Lim. 2007. Principles of Econometrics Third Edition. 3rd ed. John Wiley and Sons, New York.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.