การยอมรับการปลูกเมลอนสู้ภัยแล้ง ของเกษตรกรในอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ณัฐวุฒิ จั่นทอง
พหล ศักดิ์คะทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) การยอมรับการปลูกเมลอนสู้ภัยแล้ง 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกเมลอน และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกเมลอนสู้ภัยแล้งของเกษตรกรในอำเภอลาดบัวลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกเมลอน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอลาดบัวหลวง จำนวน 107 ครัวเรือน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีการยอมรับการปลูกเมลอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการยอมรับด้านเศรษฐกิจและการตลาด ด้านแรงจูงใจ และด้านภูมิศาสตร์อยู่ในระดับมาก ส่วนการยอมรับด้านการจัดการและด้านการผลิตอยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ พบว่า อายุ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา รายได้จากการปลูกเมลอน การฝึกอบรมเกี่ยวกับการปลูกเมลอน และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกเมลอน มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกเมลอนของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุลลดา พลัง วีรศักดิ์ ปรกติ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ นคเรศ รังควัต. 2554. การยอมรับของเกษตรกรผู้ผลิตยาสูบในแนวทางเกษตรแบบผสมผสานในเขตรับผิดชอบของสถานีใบยาป่าก่อดำ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 28(2): 57-64.
ณัฐวุฒิ จั่นทอง และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2559. การยอมรับการปลูกมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร 32(1): 19-27.
ทีมข่าวเศรษฐกิจ. 2559. วิกฤต ภัยแล้ง 2559 : เกษตรกรไทยจะหาทางออกอย่างไรดี. บริษัท อินเตอร์สเปซ (ประเทศไทย) จำกัด, กรุงเทพฯ. 29 หน้า.
นราดล ประไพศรี กังสดาล กนกหงส์ นคเรศ รังควัต และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2558. การยอมรับวิธีการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอแม่อาย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 32(1): 39-46.
พิสุทธิพันธ์ กิตติชัยณรงค์ รุ่งโรจน์ พิทักษ์ด่านธรรม และ สุวรรณา ประณีตวตกุล. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดโดยเกษตรกรผู้นำผู้ปลูกข้าวตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. เรื่องเต็มการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 54 ของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 1126 หน้า.
ยุทธนา โพธิ์เกตุ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และ ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2559. การส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแก่เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารแก่นเกษตร 44(ฉบับพิเศษ 1): 624-629.
ฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์. 2559. เศรษฐกิจภูมิภาค. สำนักพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, กรุงเทพฯ. 22 หน้า.
ศิริรัตน์ ชูรัตน์ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และ ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2559. การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วารสารแก่นเกษตร 44(ฉบับพิเศษ 1): 619-623.
สมาคมสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย. 2559. แคนตาลูป-เมล่อน พืชเศรษฐกิจเงินล้าน. หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด, กรุงเทพฯ. 18 หน้า.
สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2558. ข้อมูลพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เอกสารการประกอบการประชุมประจำปี 2558. สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา. 81 หน้า.
สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. ข้อมูลพื้นฐานทางการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปี 2558/2559. เอกสารการประกอบการประชุมประจำปี 2558/2559. สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา. 145 หน้า.
สำนักงานเกษตรอำเภอลาดบัวหลวง. 2559. รางงานกิจกรรมต่าง ๆ ประจำเดือน. เอกสารประกอบการประชุมประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2559. สำนักงานเกษตรอำเภอลาดบัวหลวง, พระนครศรีอยุธยา. 32 หน้า.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม. เสี่ยงเชียง, กรุงเทพฯ. 146 หน้า.
สุรีย์วัลย์ เมฆกมล กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร และ เรณู สุวรรณพรสกุล. 2559. ผลของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกของเกษตรกร. วารสารเกษตร 32(1): 51-59.
Yamane, T. 1967. Elementary Sampling Theory. Prentice-Hall, Englewood Cliffs, New Jersey. 405 p.