การเปรียบเทียบสมรรถภาพการขุน คุณภาพซาก และเนื้อของโคลูกผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับชาร์โรเลส์ แบล็คแองกัส และบราห์มัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการขุน คุณภาพซาก และเนื้อของโคลูกผสมพื้นเมืองชาร์โรเล่ส์ แบล็คแองกัส และบราห์มัน เพื่อเป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการขุนสำหรับการเลี้ยงในประเทศไทย และเป็นทางเลือกในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ การทดลองนี้ใช้โคเพศผู้ตอนลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส และโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน ขุนเป็นเวลา 8-10 เดือน แบ่งเป็นกลุ่มการทดลองละ 8 ตัว อายุเริ่มต้นเข้าขุนเฉลี่ย 2 ปี 6 เดือน-2 ปี 8 ตามลำดับ โดยให้อาหารข้น หญ้า และน้ำอย่างเต็มที่ (ad libitum) ทำการวัดสมรรถภาพการขุน และเมื่อน้ำหนักเฉลี่ย 550-700 กิโลกรัมนำมาฆ่าและตัดแต่งซากเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพเนื้อและซากระหว่างพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาที่ใช้ขุนของโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน และโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ มากกว่าโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส (P<0.001) สำหรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นพบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์มีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ รองลงมาคือโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส และโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน นอกจากนี้อัตราการเจริญเติบโตต่อตัวต่อวันพบว่า โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส มีค่ามากที่สุด รองลงมาคือโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ (P>0.05) และ โคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน (P<0.001) สำหรับคุณภาพซากของโคลูกผสมทั้ง 3 พันธุ์พบว่า น้ำหนักมีชีวิต น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักซากเย็น และเปอร์เซ็นต์ซากของโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มันมีค่าน้อยที่สุด (P<0.001) สำหรับคุณภาพเนื้อด้านเปอร์เซ็นต์ไขมัน และการประเมินทางด้านการตรวจชิม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส กับโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ จากการศึกษาความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อพบว่าโคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส มีค่าการสูญเสียจากการเก็บรักษามากที่สุด (P=0.036) ส่วนทางด้านของค่าแรงตัดผ่านเนื้อ พบว่า โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัส มีค่าน้อยที่สุด (P<0.001) รองลงมาคือ โคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์ และโคลูกผสมพื้นเมือง x บราห์มัน ตามลำดับ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าโคลูกผสมสายเลือดยุโรปไม่มีความแตกต่างในส่วนของเปอร์เซ็นต์ไขมันแทรกและด้านการตรวจชิม แต่โคลูกผสมพื้นเมือง x แบล็คแองกัสจะมีสมรรถภาพด้านการเจริญเติบโตและมีความนุ่มของเนื้อสูงที่สุด สำหรับโคลูกผสมพื้นเมือง x ชาร์โรเลส์จะมีประสิทธิภาพด้านคุณภาพซากมากที่สุด
Article Details
References
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล และ ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ. 2548. คุณภาพของเนื้อโคภายใต้ระบบการผลิตและการตลาดของประเทศไทย. บริษัทสุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์ จำกัด, กรุงเทพฯ. 84 หน้า.
ดวงกมล กุสันเทียะ และ สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์. 2559. ผลของการใช้กากมะเขือเทศแห้งในอาหารข้นต่อการย่อยได้ของโภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย. วารสารเกษตร 32(2): 261-271.
นิราภรณ์ ชัยวัง ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร นภวรรณ ชมชัย เดโช ปรากฏรัตน์ คัมภีร์ ภักดีไทย วิวัฒน์ ไชยชอุ่ม มิชาเอล วิคเค และ สัญชัย จตุรสิทธา. 2554. คุณภาพซากและเนื้อของโคขาวลำพูนและโคลูกผสมบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าแพงโกล่า. วารสารเกษตร 27(1): 69-76.
ไพโรจน์ วิริยจารี. 2535. การวางแผนการวิเคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 275 หน้า.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2550. การจัดการเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 171 หน้า.
สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. (ระบบออนไลน์). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2560. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/document_tendency/agri_situation2560.pdf (25 กรกฏาคม 2560).
สุกัญญา ยอดสร้อย นิราภรณ์ ชัยวัง เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ กรวรรณ ศรีงาม ทรงเกียรติ สุวรรณศิริกุล และ สัญชัย จตุรสิทธา. 2556. คุณภาพเนื้อของโคดอย และโคขาวลำพูน เปรียบเทียบกับโคลูกผสมบราห์มัน. แก่นเกษตร 41(1): 45-50.
AOAC. 1995. Official Methods of Analysis. 15th ed. Association of Official Analytical Chemists, Arlington, VA.
Bartoň, L., M. Marounek, V. Kudrna, D. Bureš and R. Zahrádková. 2007. Growth performance and fatty acid profiles of intramuscular and subcutaneous fat from Limousin and Charolais heifers fed extruded linseed, Meat Science 76: 517-523.
Brugiapaglia, A., C. Lussiana and G. Destefanis. 2014. Fatty acid profile and cholesterol content of beef at retail of Piemontese, Limousin and Friesian breeds. Meat Science 96: 568-573.
Chambaz, A., M.R.L. Scheeder, M. Kreuzer and P.A. Dufey. 2003. Meat quality of Angus, Simmental, Charolais and Limousin steers compared at the same intramuscular fat content. Meat Science 63: 491–500.
Chávez, A., E. Pérez, M.S. Rubio, R.D. Méndez, E.J. Delgado and D. Díaz. 2012. Chemical composition and cooking properties of beef forequarter muscles of Mexican cattle from different genotypes. Meat Science 91: 160-164.
Cross, H.R., J.D. Crouse and M.D. MacNeil. 1984. Influence of breed, sex, age and electrical stimulation on carcass and palatability traits of three bovine muscles. Journal of Animal Science 58: 1358-1365.
Dunne, P.G., M.G. Keane, F.P.O’ Mara, F.J. Monahan and A.P. Moloney. 2004. Colour of subcutaneous adipose tissue and M. longissimus dorsi of high index dairy and beef X dairy cattle slaughtered at two live weights as bulls and steers. Meat Science 68: 97-106.
Elzo, M.A., D.D. Johnson, J.G. Wasdin and J.D. Driver. 2012. Carcass and meat palatability breed differences and heterosis effects in an Angus–Brahman multibreed population. Meat Science 90: 87-92.
Gagaoua, M., E.M.C., Terlouw, D. Micol, J-F. Hocquette, A.P. Moloney, K. Nuernberg, D. Bauchart, A. Boudjellal, N.D. Scollan, R.I. Richardson and B. Picard. 2016. Sensory quality of meat from eight different types of cattle in relation with their biochemical characteristics. Journal of Integrative Agriculture 15(7): 1550-1563.
Highfill, C.M., O. Esquivel-Font, M.E. Dikeman and D.H. Kropf. 2012. Tenderness profiles of ten muscles from F1 Bos indicus x Bos taurus and Bos taurus cattle cooked as steaks and roasts. Meat Science 90: 881-889.
Ibrahim, R.M., D.E. Goll, J.A. Marchello, G.C. Duff, V.F. Thompson, S.W. Mares and H.A. Ahmad. 2008. Effect of two dietary concentrate levels on tenderness, calpain and calpastatin activities, and carcass merit in Waguli and Brahman steers. Journal of Animal Science 86: 1426-1433.
Irshad, A., G. Kandeepan, S. Kumar, A. Ashish Kumar, M.R. Vishnuraj and V. Shukla. 2012. Factors Influencing Carcass Composition of Livestock: a Review. Journal of Animal Production Advance 3(5): 177-186.
Jaturasitha, S., R. Norkeaw, T. Vearasilp, M. Wicke and M. Kreuzer. 2009. Carcass and meat quality of Thai native cattle fattened on Guinea grass (Panicum maxima) or Guinea grass legume (Stylosanthes guianensis) pastures. Meat Science 81(1): 155-162.
Miguel, G.Z., H.F. Marcelo, O.R. Roberto, T.S. Carolina, P.S. Surendranath, B.G.F. Ana, L.C.D. Nara, V.C.G. Lucio, M.H. Juliana, K.B. Erika, S.S. Leticia, D.R. Flavio, R.S. Gustavo, D.M. Aline and V.S. Taciana. 2014. Immunocastration improves carcass traits and beef color attributes in Nellore and Nellore × Aberdeen Angus crossbred animals finished in feedlot. Meat Science 96: 884-891.
Nollet, L.M.L. and F. Toldra. 2009. Handbook of Muscle Foods Analysis. CRC Press. 984 p.
O’Neill, R.G., J.A. Woolliams, E.J. Glass, J.L. Williams and J.L. Fitzpatrick. 2006. Quantitative evaluation of genetic and environmental parameters determining antibody response induced by vaccination against bovine respiratory syncytial virus. Vaccine 24: 4007-4016.
Opatpatanakit, Y., T. Supakitjanon, A. Faengfu and J. Sethakul. 2008. Smallholder beef production and carcass quality of native Thai cattle in south central Thailand. In Asian- Australasian association of animal production societies. Proceedings of the 13th Animal Science Congress of the Asian-Australasian Association of Animal Production Societies. Animal Husbandry Association of Vietnam, Hanoi.
Papaleo Mazzucco, J., D.E. Goszczynski, M.V. Ripoli, L.M. Melucci, A.M. Pardo, E. Colatto, A. Rogberg-Muñoz, C.A. Mezzadra, G.J. Depetris, G. Giovambattista and E.L. Villarreal. 2016. Growth, carcass and meat quality traits in beef from Angus, Hereford and cross-breed grazing steers, and their association with SNPs in genes related to fat deposition metabolism. Meat Science 114: 121-129.
Prado, I.N., J.A. Aricetti, P.P. Rotta, R.M. do Prado, D. Perotto, J.V. Visentainer and M. Matsushita. 2008. Carcass characteristics, chemical composition and fatty acid profile of the Longissimus muscle of bulls (Bos taurus indicus vs. Bos taurus taurus) finished in pasture systems. Asian-Australasian Journal of Animal Science 21: 1449-1457.
SAS. 1996. SAS User’s Guide. SAS institute Inc., Cary, NC.
Vieira, C., A. Cerdeño, E. Serrano, P. Lavín and A. R. Mantecón. 2007. Breed and ageing extent on carcass and meat quality of beef from adult steers (oxen). Livestock Science 107: 62-69.
Waritthitham A., C. Lambertz, H.J. Langholz, M. Wicke and M. Gauly. 2010a. Assessment of beef production from Brahman × Thai native and Charolais × Thai native crossbred bulls slaughtered at different weights. I: Growth performance and carcass quality. Meat Science 85: 191-195.
Waritthitham A., C. Lambertz, H.J. Langholz, M. Wicke and M. Gauly. 2010b. Assessment of beef production from Brahman × Thai native and Charolais × Thai native crossbred bulls slaughtered at different weights. II: Meat quality. Meat Science 85: 196-200.